วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร
















งานประเพณีบุญบั้งไฟ
งานประเพณีบุญบั้งไฟ ประวัติ/ความเป็นมา ประเพณีบุญบั้งไฟ กำเนิดจากไหนนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่ก็ยังปรากฏ ประเพณีนี้ในภาคเหนือ (เรียกว่า ประเพณีจิบอกไฟ)ส่วนหลักฐานเอกสารในภาคอีสาน ปรากฏใน วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง ผาแดง-นางไอ่ ซึ่งกล่าวถึงตำนานบุญบั้งไฟบ้างส่วนความเป็นมาและตำนานเกี่ยวกับบุญบั้งไฟมีหลายประการ ด้วยผู้รู้หลายท่านได้กล่าวไว้ เช่นสิริวัฒน์ คำวันสา ได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับต้นเหตุความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟ ในแง่ต่างๆไว้ว่าด้านศาสนาพราหมณ์ มีการบูชาเทพเจ้าด้วยไฟเป็นเครื่องบูชาเทพเจ้าบนสวรรค์ การจุดบั้งไฟ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งและเป็นการบูชาเพื่อให้พระองค์บันดาลในสิ่งที่ตนเองต้องการด้านศาสนาพุทธ เป็นการฉลองและบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชามีการนำเอาดอกไม้ไฟแบบต่างๆ บั้งไฟ น้ำมัน ไฟธูปเทียนและดินประสิว มีการรักษาศีล ให้ทาน การบวชนาค การฮดสรง การนิมนต์พระเทศน์ ให้เกิดอานิสงส์ด้านความเชื่อของชาวบ้าน ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกบาดาล มนุษย์ อยู่ภายใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้า เป็นตัวอย่างแห่งการแสดงความนับถือเทวดา เทวดา คือ "แถน" "พญาแถน" เมื่อถือว่ามีพญาแถนก็ถือว่ามีฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของพญาแถน หากทำให้พญาแถน โปรดปรานหรือพอใจแถนก็จะบันดาลความสุข จึงมีพิธีบูชาแถน การใช้บั้งไฟเชื่อว่าเป็นการบูชาพญาแถน ซึ่งแสดงความเคารพและแสดงความจงรักภักดีต่อแถน ชาวอีสานส่วนใหญ่จึงเชื่อว่าการจุดบูชาบั้งไฟเป็นการ ขอฝนพญาแถน และมีนิทานปรัมปราลักษณะนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่ง คือ เรื่องพญาคันคาก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้ว ให้พญาแถนบันดาลฝนตกลงมายังโลกมนุษย์พระมหาปรีชา ปริญญาโน เล่าถึงมูลเหตุการทำบุญบั้งไฟไว้ว่า บนสวรรค์ชั้นฟ้ามีเทพบุตร นามว่า วัสสการเทพบุตร เทพบุตรองค์นี้เป็นผู้บันดาลให้ฝนตกลงมายังโลกมนุษย์ สิ่งหนึ่งที่เทพเจ้าองค์นี้ชอบ ก็คือ การบูชาไฟ ใครบูชาไฟถือว่าบูชาท่าน แล้วท่านจะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล อาศัยเหตุนี้คนจึงพากันทำการบูชาไฟด้วยการทำบุญบั้งไฟและถือเป็นประเพณีจนทุกวันนี้จารุบุตร เรืองสุวรรณ กล่าวถึงมูลเหตุแห่งการทำบั้งไฟว่าเป็นการทดสอบความพร้อมของ ประชาชนว่ามีความสามัคคีหรือไม่ และเตรียมอาวุธไว้ป้องกันสังคมของตนเอง เพราะสิ่งที่ใช้ทำบั้งไฟนั้นคือ ดินปืนนอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมกันเพื่อเปิดโอกาสให้มีการแสดงการละเล่นจนสุด เหวี่ยง ให้มีความสนุกสนานก่อนที่จะเริ่มทำงานหนักประจำปี คือ การทำนาบุญเลิศ สดสุชาติ กล่าวถึงการทำบั้งไฟว่า มีตำนานเล่าถึงเมืองธีตานครของท้าวพญาขอม เกิดแล้งหนัก ท่านจึงป่าวประกาศให้เมืองต่างๆ ทำบั้งไฟมาแข่งกันของใครขึ้นสูงสุดจะเป็นผู้ชนะได้อภิเษก สมรสกับ "นางไอ่" ผู้เป็นพระราชธิดา ผลการแข่งขันจุดบั้งไฟปรากฏว่าท้าวผาแดงเป็นผู้ชนะเลิศ เมื่อพญาขอม สิ้นพระชนม์ ท้าวผาแดงได้ครองเมืองสืบต่อมาด้วยความสงบสุขร่มรื่น กล่าวถึงท้าวภาคีบุตรพญานาค เคยเป็นคู่ครองของนางไอ่ในชาติปางก่อน ยังมีอาวรณ์ถึงนางจึงได้แปลงกายเป็นกระรอกเผือกมาให้นางไอ่เห็น เมื่องนางไอ่เห็นก็อยากได้กระรอกนั้นเป็นกำลัง นางได้ส่งบริวารให้ช่วยกันจับ บังเอิญบริวารยิงธนูถูกกระรอก เผือกถึงแก่ความตาย ก่อนตายท้าวภาคีได้อธิษฐานให้ร่างกายของตนใหญ่โต แม้คนจะเชือดเพื่อไปกิน มากมายอย่างไรก็อย่าได้หมด ใครที่กินเนื้อตนจงถึงแก่ชีวิตพร้อมกันทั้งแผ่นดินถล่ม เมืองธีตานครถึงแก่จม หายไป กลายเป็นหนองหาน ท้าวผาแดงและนางไอ่พยายามขี่ม้าหนี แต่ไม่รอดได้เสียชีวิตในคราวนี้ด้วย จากผลแห่งกรรมดีที่สร้างไว้ท้าวผาแดงได้ไปจุติเป็นเทพเจ้า ชื่อว่าพญาแถน ดังนั้นการทำบุญบั้งไฟก็ เพื่อเป็นการบูชาพญาแถนจารุวรรณ ธรรมวัตร กล่าวถึงมูลเหตุการทำบั้งไฟดังนี้ พญาแถนเป็นเทพยดาผู้มีหน้าที่ ควบคุมฝนฟ้าให้ตกต้องตามฤดูกาล หากทำการเซ่นบวงสรวงให้พญาแถนพอใจ ท่านก็จะอนุเคราะห์ให้การ ทำนาปีนั้นได้ผลสมบูรณ์ ตลอดจนบันดาลให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหมู่บ้านใด ทำบุญบั้งไฟติดต่อกันมาถึงสามปี ข้าวปลาอาหารในหมู่บ้านนั้นจะบริบูรณ์มิได้ขาดพระยาอนุมานราชธน เขียนเล่าไว้ในเรื่อง "อัคนีกรีฑา" ว่าด้วยวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ของไทยว่า เรื่องบ้องไฟนี้โบราณเรียกว่ากรวดหรือจรวด เป็นการเล่นไฟของชาวบ้าน โดยอ้างถึงหลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหง เมื่อพุทธศักราช ๑๘๓๕ ว่า "เมืองสุโขทัยนี้มีสีปากประตู หลวงเทียรญ่อมคนเสียดคนเข้าดู ท่านเผาเทียนเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก" เป็นหลักฐานว่าการเล่นไฟประดิษฐ์จรวด กรวด หรือบ้องไฟ รวมทั้งพลุ ตะไล และไฟพะเนียงได้รู้จัก และทำเล่นกันมานานเกือบ ๗๐๐ ปีแล้ว เป็นการละเล่นที่สนุกสนาน ผู้คนเบียดเสียดกันเข้ามาดูแทบว่ากรุงสุโขทัยแตกส่วนงานประเพณีบั้งไฟ เมืองยโสธรได้มีมานานแล้ว โดยมีหลักฐานว่า มีมาก่อนที่กรมหลวง- สรรพสิทธิประสงค์ จะขึ้นไปเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล คือ เรื่องของกบฏผีบุญ หรือกบฏชาวนา กรมหลวง- สรรพสิทธิประสงค์ จึงห้ามการเล่นบั้งไฟ (นิธิ เอียวศรีวงศ์, ๒๕๓๖ : ๓๔)จุดประสงค์ของการทำบุญบั้งไฟ จุดประสงค์ของการทำบุญบั้งไฟ มีหลายอย่าง เช่น๑. การบูชาคุณของพระพุทธเจ้า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ขอน้ำฝน เชื่อมความ สมัครสมานสามัคคี แสดงการละเล่นการบูชาคุณของพระพุทธเจ้า ชาวอีสานส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนา เมื่อถึงเทศกาลเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ชาวอีสานจะจัดดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา พระพุทธรูป การทำบุญบั้งไฟของชาวอีสานถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน๒. การสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เนื่องจากการทำบุญบั้งไฟ มีการบวชพระและบวชเณร ในครั้งนี้ด้วย จึงถือว่าเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา๓. การขอฝน การทำนาไม่ว่าจะเป็นของภาคใดก็ต้องอาศัยน้ำฝน ชาวอีสานก็เช่นกัน เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้ จึงมีความเชื่อเดียวกันกับสิ่งเหนือธรรมชาติจากตำนาน เรื่องเล่าของชาวอีสานเชื่อว่า มีเทพบุตรชื่อ โสกาลเทพบุตร มีหน้าที่บันดาลน้ำฝนให้ตกลงมา จึงทำบุญ บั้งไฟขอน้ำจากเทพบุตรองค์นั้น๔. การเชื่อมความสามัคคี คนในบ้านเมืองหนึ่งที่แตกต่างกันมาอยู่รวมกัน ถ้ามิได้ทำกิจกรรม ร่วมกันก็จะมีฐานะต่างคนต่างอยู่ เมื่อบ้านเมืองเกิดความยุ่งยากจะขาดกำลังคนแก้ไข ดังนั้น เมื่อทำบุญ บั้งไฟก็จะเปิดโอกาสให้คนทั้งหลายได้มาร่วมแรงร่วมใจกันประกอบกิจกรรม สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น ในหมู่คณะ๕. การแสดงการละเล่น เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนมาแสดงการละเล่น คนเราเมื่อได้เล่น ได้กินร่วมกัน จะเกิดความรักใคร่ใยดีต่อกัน การเล่นบางอย่างจะสุภาพเรียบร้อย บางอย่างหยาบโลน แต่ก็ไม่ ถือสาหาความ ถือเป็นการเล่นเท่านั้นกำหนดการจัดงาน ชาวอีสานส่วนใหญ่จัดประเพณีบุญบั้งไฟประมาณเดือน ๖ หรือเดือน ๗ เป็นช่วงที่ เริ่มทำนาเพื่อเป็นการขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลหรือเปรียบเสมือนประเพณีแห่นางแมวของทางภาคกลาง ส่วนในจังหวัดยโสธรจัดเป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดและจะจัดขึ้นทุกๆปีในวันที่ ๑๖ พฤษภาคมกิจกรรมพิธีกรรมในงาน ขั้นตอนการเตรียมบั้งไฟ เริ่มจากทางบ้านในคุ้ม (เป็นหน่วยย่อยของชุมชนหมู่บ้าน) ซึ่ง แต่ละคุ้มในเมืองยโสธรมีวัดอย่างน้อยหนึ่งวัดในบริเวณ จึงเรียกชุมชนเหล่านี้ว่า คุ้มวัดหรือคุ้มบ้าน ในความหมายถึงคุ้มของหมู่บ้าน (ดู นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์, ๒๕๓๖ : ๓๘-๕๙) โดยแบ่งงานกันทำ เริ่มจากทำบั้งไฟฝึกหัดฟ้อนรำประกอบขบวนแห่บั้งไฟการปลูกปะรำที่พักอาศัยเพื่อแขกที่เชิญมาร่วมงานจากหมู่บ้านอื่น มีการเตรียมอาหาร บ้านใดที่มีลูกสาวก็จะเตรียมตัดชุดรำเซิ้ง อุปัชฌาย์จะเตรียมนาคเพื่อบวชในงาน เป็นช่วงที่ครึกครื้นมาก สถานที่จัดงานสมัยก่อนจะใช้วัด ซึ่งเป็นศูนย์กลางรวบรวมราษฎรมาช่วยกันทำบั้งไฟ บั้งไฟแต่ละบั้งใช้เวลาในการทำประมาณสองถึงสามเดือน ในปัจจุบันงานบุญบั้งไฟได้กลายเป็นงานที่ทาง จังหวัดเป็นผู้จัด ดังนั้นทางเทศบาลจะจ่ายให้คุ้มละ ๓๐,๐๐๐ บาท (เมื่อปี ๒๕๓๕) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน การทำบั้งไฟและขบวนแห่ ทั้งนี้ทางเทศบาลจะเป็นผู้กำหนดนางรำที่จะร่วมขบวนแห่ งบประมาณที่ได้จาก จังหวัด ๑ ใน ๓ เป็นค่าใช้จ่ายในการทำบั้งไฟที่เหลือใช้จ่ายในขบวนแห่ ซึ่งเท่าที่ผ่านมางบประมาณไม่พอ ก็ต้องทำการเรี่ยไรกันในคุ้ม (นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์, ๒๕๓๖ : ๓๕)ขั้นตอนในการทำบุญบั้งไฟต้องมีการศึกษาและเรียนรู้สืบทอดต่อๆกันมา คนที่เป็นช่าง ทำบั้งไฟเรียกว่า "ช่างบั้งไฟ" โดยทั่วไปจะถ่ายทอดต่อกันนับพ่อกับลูก ลูกกับหลาน หรือครูกับลูกศิษย์เป็นคนๆ เท่านั้น ไม่ใช่คนทั่วไปอยากเรียนก็จะเรียนได้หมด ครูจะเลือกถ่ายทอดให้ตัวต่อตัว สำหรับศิษย์ที่ครู เห็นว่ามีไหวพริบและมีพรสวรรค์ด้านการทำบั้งไฟเท่านั้น ก่อนลงมือทำบั้งไฟต้องจัดหาอุปกรณ์ไว้ให้ครบ เพื่อความสะดวกในการทำบั้งไฟ ในปัจจุบันกับสมัยโบราณจะต่างกันในเรื่องระยะเวลาชนิดของบั้งไฟ ชนิดของบั้งไฟมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการทำ อาจจะแยกเป็นแบบใหญ่ และนิยมทำกันมากมี ๓ แบบ คือ แบบมีหาง แบบไม่มีหาง และบั้งไฟตะไลบั้งไฟมีหางเป็นแบบมาตรฐาน เรียกว่า "บั้งไฟหาง" มีการตกแต่งให้สวยงามเมื่อเวลาเซิ้ง เวลาจุดจะพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สูงมาก ควบคุมทิศทางได้เล็กน้อยบั้งไฟแบบไม่มีหางเรียกว่า "บั้งไฟก่องข้าว" รูปร่างคล้ายกล่องใส่ข้าวเหนียว ชนิดมีขาตั้ง เป็นแฉก ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นชัดก็คล้ายจรวดนั่นเองบั้งไฟตะไล มีรูปร่างกลม มีไม้บางๆ แบนๆ ทำเป็นวงกลมรอบหัวท้ายของบั้งไฟ เวลาพุ่ง ขึ้นสู่ท้องฟ้าจะพุ่งไปโดยทางขวาง บั้งไฟทั้งสามแบบที่กล่าวมา ถ้าจะแยกย่อยๆ ตามเทคนิคการทำและลักษณะรูปร่างของบั้งไฟ จะแยกเป็นประเภทได้ ๑๑ ชนิด ดังนี้คือ- บั้งไฟโมดหรือโหมด - บั้งไฟม้า - บั้งไฟช้าง - บั้งไฟจินาย - บั้งไฟดอกไม้ - บั้งไฟฮ้อยหรือบั้งไฟร้อย - บั้งไฟหมื่น - บั้งไฟแสน - บั้งไฟตะไล - บั้งไฟตื้อ - บั้งไฟพลุการแห่บั้งไฟ การแห่บั้งไฟจะกำหนดไว้ ๓ วัน คือ วันสุกดิบ วันประชุมเล่นรื่นเริง และวันจุดบั้งไฟ ในวัน สุกดิบ คณะเซิ้งบั้งไฟแต่ละคุ้ม แต่ละคณะจะนำบั้งไฟของตนพร้อมด้วยขบวนแห่มายังหมู่บ้านที่แจ้งฎีกา โดยจะแห่ไปรวมกันที่วัด และที่วัดจะมีการทำบุญและเลี้ยงแขก ผู้ที่มีหน้าที่ต้อนรับจะปลูกกระท่อมเล็ก เรียกว่า "ผาม" ขึ้นตามลานวัด เพื่อเป็นที่จุดบั้งไฟและเป็นที่รับแขกที่จะมาประชุมกัน ทุกๆคนที่มาร่วมงานกัน ล้วนแต่งกายอย่างสวยงามทั้งหญิงและชาย โดยเฉพาะสาวๆ ถ้าสาวบ้านไหนไม่ไปเท่ากับผู้เฒ่าผู้แก่บ้านนั้น ไม่ยินดีร่วมทำบุญและไม่ร่วมมือ ถ้าพ่อแม่ขัดข้องโดยไม่มีเหตุจำเป็นจะเป็นบาป ตายแล้วต้องตกนรก แสนกัปแสนกัลป์ และเป็นเหตุให้บ้านเมืองเดือดร้อน ฟ้าฝนไม่อุดมสมบูรณ์ทำไร่ทำนาไม่ได้ผล ปัจจุบัน จังหวัดยโสธรได้จัดให้บั้งไฟคณะต่างๆ ไปทำพิธีบวงสรวงคารวะเจ้าปู่เจ้าพ่อหลักเมือง แล้วแต่ละคุ้มจะรำ เซิ้งเพื่อขอบริจาคไปตามสถานที่ต่างๆ ได้เมื่อถึงวันที่สอง คือวันประชุมเล่นรื่นเริงหรือวันสมโภช คณะต่างๆจะนำบั้งไฟของตนไปปัก ไว้ที่ศาลาการเปรียญ ฝ่ายที่มีหน้าที่ต้อนรับแขกก็แขกรับไป พวกแขกก็มีธรรมเนียมเหมือนกันคือ ต้องมาเป็น ขบวน มีคนตีฆ้อง ตีกลองนำขบวน มีพระและสามเณร ต่อด้วยประชาชนทั่วไป ในขบวนนี้อาจจะมีแคน หรือเครื่อง ดนตรีอื่นๆ เป่าหรือบรรเลงเพื่อความครึกครื้นไปด้วย ครั้นไปถึงลานวัดแล้ว เจ้าภาพจะนำแขกไปยังผามที่ทำไว้ ขณะเมื่อแขกไปถึงผามจะตีกลอง เป็นอาณัติสัญญาณว่าแขกทั้งหลายได้มาถึงแล้ว และจัดที่นั่งสำหรับพระและสามเณรไว้บนพื้นสูงแถวหนึ่ง ชายแก่อีกชั้นหนึ่ง และรองลงมาก็จะเป็นหญิงแก่และสาวปนเปกันไปและต้องหันหน้าออกมาทางผาม สำหรับ พวกหนุ่มๆ ที่ร่วมขบวนมาด้วยกันนั้นส่วนมากจะมารื่นเริงฟ้อนรำทำเพลงผสมปนเปกับเจ้าของถิ่น และพวก ที่มาจากถิ่นอื่น วันนี้อาจมีการบวชนาคและสรงน้ำพระภิกษุ โดยนิมนต์ท่านสมภารวัด หรือพระคุณเจ้าวัดเจ้าคณะอำเภอนั้นๆขึ้นแคร่แห่ไปรอบวัด และนำนาคเข้าขบวนแห่ไปด้วย นาคพื้นเมืองจะแต่งตัวสวยงามมาก บางคนนั่งแคร่ หรือขี่ม้า และมีคนตีฆ้องเดินนำขบวน มีการยิงปืนและจุดไฟตะไล อานม้าผูกกระพรวนด้วย อนึ่งในพิธีแห่บั้งไฟนี้ ถ้าบุคคลใดมีความประสงค์จะสรงน้ำพระภิกษุ ก็ให้มีการแห่พระภิกษุรูปนั้นออกนำ หน้านาคอีกทีหนึ่ง การสรงน้ำพระเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฮดสรง การฮดสรงนี้เป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่พระ ภิกษุรูปใดจะได้เลื่อนยศชั้น จึงจะได้รับการสรงน้ำ และมีการถวายจตุปัจจัย หรือสังฆบริภัณฑ์ เช่น ถวาย เตียงนอน เสื่อสาด หมอนอิง ไม้เท้า กระโถน ขันน้ำพานรอง สำรับคาวหวาน ผ้าไตร ฯลฯครั้นแห่ประทักษิณครบสามรอบแล้ว จะนิมนต์พระรูปนั้นนั่งบนแท่นซึ่งทำลวดลายด้วย หยวกกล้วย แล้วสรงน้ำด้วยน้ำอบน้ำหอม ครั้นเสร็จจากการสรงน้ำแล้วจึงอ่านประกาศชื่อของพระรูปนั้น ให้ทราบทั่วกัน ประกาศนั้นจะเขียนลงบนใบลานบ้าน แผ่นเงินบ้าง แผ่นทองบ้างตามกำลังยศ เมื่ออ่านประกาศ แล้วเจ้าศรัทธาจะมอบจตุปัจจัยต่างๆ ที่จัดมานั้นถวายแด่พระภิกษุ ต่อจากนั้นมีพิธีสวดมนต์เย็นที่ ศาลาการเปรียญ ในปัจจุบันมีคณะผ้าป่าจากกรุงเทพฯ โดยชาวยโสธรจะชวนเพื่อนๆที่สนิทนำผ้าป่ามาถวาย ที่บ้านเกิดของตนเป็นการกลับมาเยี่ยมบ้าน เที่ยวงานประเพณีบุญบั้งไฟ และเป็นการทำบุญด้วยวันแห่บั้งไฟตอนเช้ามีการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ที่ศาลาการเปรียญ และรับ ผ้าป่า จากนั้นนำขบวนแห่ไปคารวะมเหศักดิ์หลักเมือง เจ้าพ่อปู่ตาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน แล้วขบวน แห่บั้งไฟทุกคณะไปตั้งแถวตามถนน แล้วแห่ไปตามเส้นทางที่คณะกรรมการจัดการกำหนดไว้ในขบวนแห่ บั้งไฟที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ขบวนฟ้อนรำ ที่เรียกว่า เซิ้งบั้งไฟนำขบวนไปด้วย บั้งไฟแต่ละขบวนจะ ประกอบด้วยขบวนเซิ้งนำหน้าขบวนแสดงความเป็นอยู่ (อาชี) ตลกขบขันในวันจุดบั้งไฟ ตอนเช้ามีการทำบุญเลี้ยงพระ ตักบาตรถวายภัตตาหาร เลี้ยงดูญาติโยม แล้วแห่บั้งไฟไปรอบพระอุโบสถ เพื่อถวายแด่เทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วนำบั้งไฟออกไปที่จัดไว้สำหรับ จุดบั้งไฟการจุดบั้งไฟจะจุดบั้งไฟเสี่ยงทายก่อน เพื่อเป็นการเสี่ยงทายว่าพืชผลทางการเกษตร ประจำปี จะดีเลวหรือไม่ กล่าวว่า คือ ถ้าบั้งไฟที่เสี่ยงทายจุดไม่ขึ้น (ชุติดค้าง) ก็ทายว่าน้ำประจำปีจะมาก และทำให้ไร่ที่ลุ่มเสียหาย ถ้าจุดแล้วขึ้นไประเบิดแตกกลางอากาศ ทายว่าแผ่นดินจะเกิดความแห้งแล้ง แต่ถ้าบั้งไฟจุดขึ้นสวยงามและสูง ชาวบ้านจะเปล่งเสียงไชโยตลอดทั้งบริเวณลาน เพราะมีความเชื่อว่า ข้าวกล้าและพืชไร่ในท้องทุ่งจะได้ผลบริบูรณ์หลังจากลำเสี่ยงทายแล้วก็จะทำการจุดบั้งไฟเสียง หลังจากนั้นก็จะจุดบั้งไฟที่นำมาแข่งขัน บั้งไฟหมื่นและบั้งไฟแสน การจุดชนวนใช้เวลาไม่กี่นาทีบั้งไฟก็จะพุ่งไปในอากาศ การขึ้นของบั้งไฟจะมีเสียง ดังวี้ด คล้ายคนเป่านกหวีดหรือเป่ากระบอก ส่วนบั้งไฟแข่งขันจะจุดหลังบั้งไฟเสียงการจุดบั้งไฟแข่งขันถ้าบั้งไฟ ของคณะใดขึ้นสูงก็เป็นผู้ชนะ ถ้าขึ้นสูงมากก็จะโห่ร้องยินดี กระโดดโลดเต้นกันอย่างเต็มที่ และจะแบกช่าง ทำบั้งไฟเดินไปมา แต่ถ้าบั้งไฟของคณะใดไม่ขึ้นหรือแตกเสียก่อน ช่างบั้งไฟจะถูกลงโคลนตมไม่ว่าบั้งไฟ จะขึ้นหรือไม่ขึ้นก็ตามก็จะจับโยนทั้งนั้น ช่างทำบั้งไฟจะเป็นคนจุดเอง หรือบางทีคนในคณะบั้งไฟของตน ที่มีความชำนาญจะเป็นคนจุด กรรมการจะจับเวลาว่าใครขึ้นสูงกว่ากัน การจุดบั้งไฟนี้น่ากลัวมาก บางบั้ง ก็แตก บางบั้งก็ขึ้นสูง ในวันจุดบั้งไฟนี้ประชาชนพากันมามุงดูอย่างคับคั่งนั่งอยู่ตามร่มไม้เป็นกลุ่มๆ และพนันกันว่าบั้งไฟใครจะชนะ ขึ้นสูงหรือไม่ ตกหรือไม่ เป็นต้น บางทีมีบั้งไฟมากต้องจุด ๒ วัน ก่อนจุดต้อง เอาเครื่องประดับบั้งไฟออกนำแต่บั้งไฟเท่านั้นไปจุด หลังจากจุดเสร็จ แล้วจะมอบรางวัลให้กับบั้งไฟที่ขึ้นสูง ตามลำดับที่ ๑ - ๓ จากนั้นคณะเซิ้งพากันเซิ้งกลับไปบ้านของตนหรือบ้านช่างทำบั้งไฟการนำรอยไฟ (การนำฮอยไฟ) หมายถึง การเล่นสนุกหลังจากจุดบั้งไฟแล้ว มีการตาม ช่างและชาวบ้านที่เป็นเจ้าบ้านไปดื่มเหล้าและเล่นสนุกสนานกันอีก การตามรอยไฟจะสูตรขวัญให้ช่างทำ บั้งไฟด้วย คือ เริ่มแรกอาราธนาสูตรขวัญเพื่อทำขวัญช่าง เมื่ออาราธนาเสร็จแล้วหมอก็เริ่มการสูตรขวัญ บ้านที่ทำการสูตรขวัญเป็นบ้านช่างทำบั้งไฟ ทุกคนในบ้านจะออกมานั่งรับการสูตรขวัญ หมอสูตรขวัญนำคำ สูตรขวัญที่ดีๆมาสูตร เสร็จแล้วมีการผูกแขนเพื่อเป็นมงคล หลังจากสูตรขวัญและผูกแขนช่างทำบั้งไฟแล้ว ก็รับประทานอาหารกันอย่างสนุกสนาน การนำรอยไฟปฏิบัติกันทั่วไป ปัจจุบันปฏิบัติกันน้อยลง การเซิ้งตาม รอยไฟเป็นการเซิ้งเพื่อเยี่ยมเยียนตามบ้านเรือนชาวบ้านจนถึงค่ำจึงเลิกรากันไป เนื้อความของกาพย์เซิ้ง ในตอนนี้เป็นการขอเหล้าสาโทดื่มฉลอง มีการกล่าวขอบคุณและให้ศีลให้พร (ดูตัวอย่างคำให้ศีลให้พรใน ปรีชา พิณทอง, อร่ามจิต ชิณช่าง, ๒๕๓๗ : ๔๓-๔๔)ประเพณีบุญบั้งไฟกับชีวิตของชาวอีสานจึงมีความผูกพันกันอย่างเหนียวแน่น ชาวอีสาน จะจัดทำบุญบั้งไฟกันอย่างเอิกเกริก ยิ่งปีใดฝนแล้งจะต้องทำเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ยังถือเป็นการทำบุญ ประกอบคุณงามความดีตามความเชื่อถือที่มีมาแต่โบราณกาล เช่น มีงานบวชนาค งานสรงน้ำพระพุทธรูป งานถือน้ำพิพัฒน์ต่อหน้าพระพุทธรูป กล่าวได้ว่าชาวอีสานใช้บั้งไฟเป็นสื่อในการให้ประชาชนทำบุญ เป็นสื่อในการติดต่อระหว่างมนุษย์กับพญาแถน บั้งไฟจึงมีความเกี่ยวพันกับชีวิตของคนอีสาน ในฐานะเป็น เครื่องมือของพิธีขอฝนเพื่อให้ตกต้องตามฤดูกาล นอกจากนี้ประเพณีบุญบั้งไฟยังเปิดโอกาสให้ชาวบ้านจาก หมู่บ้านและตำบลต่างๆ ได้มาช่วยกันทำบุญบั้งไฟ มาร่วมกันสนุกสนานเป็นการรวมพลังประชาชนให้มาทำ กิจกรรมร่วมกัน ฝึกให้รักและสามัคคีกันได้เป็นอย่างดี

แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร













"เมืองประชาธิปไตย บั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิต แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ"





จากพงศาวดารเมืองยโสธร ได้บันทึกไว้ว่า เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2340 พระเจ้าวรวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทร์ กับสมัครพรรคพวก เดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับนครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึง ดงผีสิง เห็นเป็นทำเลดี จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่ เรียกว่า "บ้านสิงห์ท่า" หรือ "เมืองสิงห์ท่า" ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านสิงห์ท่าแห่งนี้ขึ้นเป็น "เมืองยโสธร" ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีเจ้าเมืองดำรงบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรราชวงศา
ในปี พ.ศ. 2515 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 ได้แยกอำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี และรวมกันเป็นจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515
การเดินทาง
ทางรถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี จึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ไปทางอำเภอพิมาย ผ่านอำเภอหนองสองห้อง และอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วจึงแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ แล้วจึงถึงจังหวัดยโสธร รวมระยะทางประมาณ 531 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง
รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน
สำหรับผู้โดยสารโดยรถไฟ หรือเครื่องบิน จะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วต่อรถยนต์มาลงที่ยโสธรอีก 99 กิโลเมตร

วัดมหาธาตุ
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมือง เป็นวัดคู่ยโสธรมาตั้งแต่สร้างเมือง (บ้านสิงห์ท่าเดิม) โบราญสถานที่สำคัญในวัดคือ พระพุทธบุษยรัตน์ พระธาตุยโสธร และหอไตร
พระพุทธบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน ขนาดหน้าตักกว้าง 1.9 นิ้ว เป็นพระบูชาคู่บ้านคู่เมืองของยโสธร ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้พระสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองยโสธรคนแรก
พระธาตุยโสธร หรือพระธาตุอานนท์ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยม ส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาว ที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกลนทร์ ซึ่งตรงกับประวัติการตั้งเมือง และประวัติของวัดมหาธาตุฉบับหนึ่งว่า สร้างราว พ.ศ. 2321 โดยท้าวหน้า ท้าวคำสิงห์ ท้าวคำผา ซึ่งเดิมเป็นเสนาบดีเก่าของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ต่อมาได้อพยพผู้คนภายใต้การนำของพระวอ พระตา ราว พ.ศ.2313-2319 มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้
ลักษณะพระธาตุ ฐานรูป เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 81 เมตร ก่ออิฐถือปูน เอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ส่วนยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี 2 ชั้น รูปแบบการก่อสร้าง คล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อย และทางวัดจะจัดให้มีงานสมโภชพระธาตุอานนท์ขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนมีนาคม
หอไตร เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานของวัด ตั้งอยู่ตรงกลางสระทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาคอีสานทั่วไป มีทางเดินโดยรอบติดกัน ใต้ชายคาบริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม เสลียง ชั้นวางคัมภีร์ ซึ่งนำมาจากเวียงจันทน์ ที่ซุ้มประตูและบานประตูไม้ สลักลวดลายเครือเถา ลงรักปิดทองอย่างสวยงาม มีลวดลายการตกแต่งฝาผนัง ซึ่งลักษณะผสมแบบภาคกลาง ทำให้กล่าวได้ว่า หอไตร น่าจะสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ธาตุก่องข้าวน้อย
ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กม ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร-อุบลราชธานี) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร
ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุ มีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ เป็นสวนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากันเป็นส่วนยอด รอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อย มีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5X5 เมตร นอกจากนี้ บริเวณด้านหลังมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่ง ก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้า จะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชือกันว่า ถ้าไม่ทำเช่นนี้ ฝนจะแล้งในปีนั้น
ธาตุก่องข้าวน้อย มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของธาตุก่องข้าวน้อย กลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสาย เกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบ ทำให้เขากระทำมาตุฆาตด้วยสาเหตุเพียงแต่ว่า ข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมด จึงได้สติคิดสำนึกผิด ที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ความตาย จึงได้สร้างธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพีอเป็นการอุทิศส่วนกุศล ขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต
นอกจากนี้ ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง

แหล่งโบราณสถาน บ้านสงเปือย
บ้านสงเปือย ตั้งอยู่ที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว ห่างจากตัวเมืองยโสธร 25 กิโลเมตร ตามเส้นทาง ยโสธร-คำเขื่อนแก้ว-อุบลราชธานี โดยทางหลวงหมายเลข 23 จะมีทางแยกขวาเข้าไปอีกราว 10 กิโลเมตร สิ่งสำคัญและปูชนียสถานที่น่าสนใจ มีดังนี้
พระพุทธรูปใหญ่ เป็นพระประธานในอุโบสถวัดสงเปือย มีขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 8 เมตร เป็นพระพุทธรูปปั้นด้วยอิฐ ปูน มีอายุไม่น้อยกว่า 200 ปี เป็นที่สักการะของประชาชนในท้องถิ่น ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนี่ง
เจดีย์บรรจุดินจากสังเวชนียสถาน เดิมเป็นเจดีย์เก่า อายุประมาณ 200 ปีขึ้นไป ในปี พ.ศ. 2498 ได้ต่อเติมขึ้นใหม่ โดยเงินทุนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม พระปลัดเขียน อัมมาพันธ์ นำดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน จากประเทศอินเดีย มาบรรจุไว้
รอยพระพุทธบาทจำลอง จัดสร้างโดยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิง ในวันสงกรานต์ของทุกปี มีประชาชนในท้องถิ่นมาสรงน้ำเป็นจำนวนมาก
พิพิธภัณฑ์ของโบราณ เป็นสถานที่รวบรวมของโบราณซึ่งเก็บและขุดมาได้จากดงเมืองเตย เมืองเก่าสมัยขอม ในพิพิธภัณฑ์นี้ มีเตียงบรรทมเจ้าเมือง (เป็นศิลา) และศิลาจารึกสันนิษฐานว่า เป็นอักษรขอมโบราณ
เมืองโบราณดงเมืองเตย อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านสงเปือย ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในบริเวณดงเมืองเตย มีซากวัด สระน้ำ กำแพงเมือง ซึ่งปัจจุบันได้ชำรุดลงไปมากแล้ว แต่ยังมีเค้าโครงเดิมพอจะสันนิษฐานได้ว่า เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณสมัยเจนละ-ทวารวดี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 จากข้อความที่พบในจารึกของกษัตริย์เจนละ แสดงว่าโบราณสถานแห่งนี้ สร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระศิวะ ในช่วงเวลานั้น บริเวณดงเมืองเตย รวมทั้งชุมชนใกล้เคียง ก็คงจะเคยเป็นเมืองที่มีชื่อว่า "ศังขะปุระ" ซึ่งคงจะมีความสัมพันธ์ในฐานะ เมืองในปกครองของอาณาจักรเจนละ ซึ่งก็คือ อาณาจักรขอมในสมัยต่อมา ที่แผ่อำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูล

กู่จาน
กู่จาน ตั้งอยู่ที่บ้านงิ้ว ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว ห่างจากอำเภอไปทางทิศตะวันออก 12 กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง ห่างจากตัวจังหวัด 35 กม. ตามตำนานเล่าว่า กู่จานมีมาตั้งแต่ครั้งสร้างพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม

พระพุทธบาทยโสธร
พระพุทธบาทยโสธร ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทยโสธร บ้านหนองยาง ตำบลหัวเมือง อำเภอมหาชนะชัย ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันตก 6 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2083 ห่างจากตัวจังหวัด 47 กม. พี้นที่ประดิษฐานรอยพุทธบาท เป็นเนินทรายขาวสูงงอกขึ้นกลางพื้นที่ลุ่มน้ำชี นับเป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่าของจังหวัด
บริเวณเดียวกันนี้ ยังมีโบราณวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปปางนาคปรก (ศิลาแลง) 1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 ศอก และหลักศิลาจารึกทำด้วยศิลาแลง 1 หลัก สูงประมาณ 1 เมตร กว้าง 50 เซนติเมตร มีตัวหนังสือโบราณบันทึกไว้ว่า โบราณวัตถุทั้ง 3 อย่างนี้ พระมหาอุตตปัญญาและสิทธิวิหาริกได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1378 นอกจากนั้น ก็เขียนบอกคำนมัสการพระพุทธบาทไว้ บางตัวก็อ่านไม่ออกเพราะเลือนลางมาก ในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี จะมีประชาชนจากอำเภอและตำบลใกล้เคียง ไปนมัสการเป็นจำนวนมาก

หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์
หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ ตั้งอยู่ที่วัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง หมู่ที่ 1ตำบลนาเวียง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นหอไตรเก่าแก่ สร้างมาประมาณร้อยกว่าปี เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่าหรือไทยใหญ่ เป็นอาคารไม้ขนาดกว้าง 8.30 เมตร ยาว 10.50 เมตร หลังคามุมสังกะสี มีชายคายื่นทั้ง 4 ทิศ หลังคามี 4 ชั้น ลดหลั่นกันขึ้นไปมีประตูด้านหน้า 1 ช่อง บานประตูแกะสลักลวดลายสวยงาม ใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกแต่โบราณสร้างอยู่กลางสระน้ำ

ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า
ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า บริเวณคุ้มบ้านสิงห์ท่า ซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมือง เป็นย่านเมืองเก่าที่ปรากฎนามอยู่ในประวัติศาสตร์การก่อตั้งเมือง ปัจจุบันในบริเวณดังกล่าว ยังคงมีตึกแถวโบราณที่มีรูปทรงและลวดลายงดงาม และได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ซื่งเหมาะแก่การท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง

สวนสาธารณะพญาแถน
สวนสาธารณะพญาแถน ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมถนนแจ้งสนิท (ทางหลวงหมายเลข 23) ติดกับอ่างเก็บน้ำลำทวน ภายในสวนพญาแถน มีลำน้ำเล็กๆ คดเคี้ยวล้อมรอบพี้นที่ 18 ไร่ 2 งาน 57 ตารางวา บริ เวณโดยรอบ ประกอบด้วยสวนไม้ดอก ไม้ประดับ สังคีตศาลา (เวทีการแสดงกลางแจ้ง) สนามเด็กเล่น และสวนสุขภาพ
ทางเทศบาลกำหนดให้ สวนพญาแถนเป็นสถานที่จัดงานบั้งไฟประจำปี (พญาแถนเป็นชื่อเทพเจ้าแห่งฝน ตามความเชื่อของชาวอีสานว่า เมื่อถีงเดือนหก อันเป็นเดือนต้นฤดูฝน จะต้องทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้าถวายพญาแถน ฝนจะได้ตกต้องตามฤดูกาล) นอกจากนี้ ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานแข่งเรือสั้นประจำปี และงานสงกรานต์

ภูถ้ำพระ
ภูถ้ำพระ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านกุดแห่ หรือกุดแห ตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา ห่างจากอำเภอ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 และห่างจากอำเภอเมือง 85 กิโลเมตร ที่เรียกว่า "ภูถ้ำพระ" เนื่องจากมีพระพุทธรูปอยู่ในถ้ำจำนวนมาก ล้วนแต่เป็นพระพุทธรูปโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งนั้น
ถ้ำพระนี้ เป็นถ้ำใหญ่ กว้างประมาญ 3 วา ยาวประมาณ 8 วา ตั้งอยู่ชะง่อนภูด้านทิศใต้ มีทางเข้าไปตามซอกหินเป็นอุโมงค์ จากปากถ้ำเลยไปทางทิศเหนือ สามารถเดินลอดไปได้อย่างสบาย บนภูเขาลูกนี้ นอกจากจะมีบรรยากาศร่มเย็นและร่มรื่นไปด้วยป่าไม้หนาทึบแล้ว บริเวณโดยรอบ ยังมีถ้ำอื่นๆ อีก อาทิ ถ้ำเต็ง ถ้ำงูซวง ถ้ำเกลี้ยง และถ้ำพรมบุตร

หมู่บ้านทำหมอนขิตบ้านศรีฐาน
หมู่บ้านทำหมอนขิตบ้านศรีฐาน อยู่ที่อำเภอป่าติ้ว ห่างจากตัวเมืองยโสธร 20 กิโลเมตร ตามเส้นทางยโสธร-ป่าติ้ว-อำนาจเจริญ (ทางหลวงหมายเลข 202) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 18-19 แยกทางขวามือ เข้าไปทางลาดยางอีก 3 กิโลเมตร หลังฤดูทำนาชาวบ้านแทบทุกครัวเรือน มีอาชีพทอผ้าและทำหมอนขิต นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชม และชี้อหมอนขิตไว้เป็นที่ระลึก

บ้านทุ่งนางโอก
บ้านทุ่งนางโอก ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาญ 8 กม ตามทางหลวงหมายเลข 2169 (ยโสธร-กุดชุม) มีชื่อเสียงในการจักสานไม้ไผ่ เพื่อเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนและที่ระลึก

หมู่บ้านนาสะไมย
หมู่บ้านนาสะไมย ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับบ้านทุ่งนางโอก มีชื่อเสียงในเรื่องการจักสานไม่ไผ่ และการแกะสลักเกวียนจำลองที่ปราณีตงดงาม

งานประเพณีบุญบั้งไฟ
งานประเพณีบุญบั้งไฟ มีขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ณ สวนสาธารณะพญาแถน โดยมีความเชื่อว่า เมื่อจัดงานนี้แล้ว เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จะดลบันดาลให้มีฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ กิจกรรมที่สำคัญในงานประกอบด้วย
วันแรก จะมีการจัดขบวนแห่บั้งไฟตกแต่ง ไปตามถนนภายในเขตเทศบาลเมือง การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ การจัดงานเลี้ยงพาข้าวแลง และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง
วันที่สอง จะมีการแข่งขันการจุดบั้งไฟ
พิธีกรรม บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม ด้วยลวดลายไทยสีทอง ว่ากันว่า ศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ นี้ไว้เป็นเวลาแรมเดือน แล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ ส่วนหัวบั้งไฟนั้น จะทำเป็นรูปต่างๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากแลบลิ้น พ่นน้ำได้ บ้างก็ทำเป็นรูปอื่นๆ แต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานในการขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟจะนำไปตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณี
บั้งไฟที่จัดทำให้มีหลายชนิด คือ มีทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้น หมายถึง น้ำหนักของดินประสิว 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นกิโล ก็ใช้ดินประภว 12 กิโลกรัม บั้งไฟแสน ก็ใช้ดินประสิว 10 หมื่น หรือ 120 กิโลกรัม เมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหน ก็หาช่างมาทำ หรือที่มีฝีมือ ก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้น สำคัญมาก ช่างจะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวนผสมดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตร บั้งไฟก็จะแตก คือไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้น ต้องเป็นไม้ไผ่ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้น เพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน
ในวันรุ่งขึ้น เป็นการจุดบั้งไฟ จะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกจับโยนลงในโคลน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา
ตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก พญาคางคกได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้งพญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์ และพืชจนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็จะรอดตาย และได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็พ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอยหมดกำลังใจ และสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย
ในที่สุดพญาคางคกขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยให้ปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสัตว์ ซึ่งมีมอด แมงป่อง และตะขาบ ได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุกชนิด ส่วนแมงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พลพญาแถน ทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อยกองทัพของพญาคางคกก็เดินทางออกรบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนเจ็บปวดร้องระงมจนกองทัพระส่ำระส่าย ในที่สุดพญาแถนยอมแพ้ และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้
1. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์
2. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว
3. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูควายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตกเพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว
หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไป และได้ปฏิบัติตามสัญญาจนบัดนี้ การจุดบั้งไฟให้ขึ้นไปบนท้องฟ้า เพื่อเป็นการแสดงคารวะ กับเป็นสัญญาแจ้งให้เทพารักษ์ได้ทราบว่าใกล้จะถึงฤดูทำไร่ไถนากันแล้ว ขอได้โปรดเมตตาช่วยบันดาลให้ฝนตกมายังภาคพื้นดินด้วย ประกอบกับชาวพื้นเมืองทั่ว ๆ ไปในภาคอีสาน ได้ทำพิธีแห่บุญบั้งไฟขึ้นก็ในราวเดือน 6 ซึ่งเป็นเดือนราษฎร์ และตรงกับเดือนหลวงก็คือเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปี

โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้
โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตั้งอยู่ที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ จากนั้นได้เดินทางไปหาบาทหลวงเดชาแนล และบาทหลวงออมโบรซีโอ ที่บ้านเซซ่ง ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ขอให้ไปช่วยขับไล่ผีปิศาจที่สิงสู่อยู่กับตนและ ครอบครัว ซึ่ง บาทหลวงทั้ง 2 ท่าน ก็ยอมเข้าป่าลึกไปตามคำขอ เมื่อรู้สึกดีขึ้น ทั้ง 5 ครอบครัว จึงเข้านับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ต่อมาบ้านหนองซ่งแย้ มีผู้คนอพยพ ไปอยู่มากขึ้น ในปี ค.ศ. 1909 ชาวบ้านปลูกกระต๊อบ ฝาขัด แตะเล็กๆ ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา นับว่าเป็นจุดกำเนิดวัดซ่งแย้ หรือชื่ออย่าง เป็นทางการ เป็นภาษาละตินว่า วัดอัครเทวดามิคาแอล ตามชื่อนักบุญองค์สำคัญ เป็นภาษาอังกฤษคือโบสถ์ เซนต์ไมเคิล เป็นภาษาฝรั่งเศสคือ โบสถ์แซงต์ มิเชล โดยมีบาทหลวงเดชาแนล เป็นอธิการโบสถ์คนแรก และคนในบ้านหนองซ่งแย้ซึ่งล้วนแต่เป็นชาวไทยอีสาน ได้มาเข้ารีต ถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เกือบทั้งหมดหลังจากนั้น ได้มีการสร้างอาคารโบสถ์ใหม่หลายครั้ง โบสถ์ไม้เนื้อแข็งหลังปัจจุบันนี้ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยาการเดินทาง จากยโสธรใช้ทางหลวงหมายเลข 2169 เลยอำเภอกุดชุมไปประมาณ 7-8 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกราว 600 เมตร ถึงบริเวณโรงเรียนซ่งแย้พิทยาและโบสถ์ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน

แหล่งที่มา
http://www.guideubon.com/yasothon.php

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

รอบรู้เรื่อง Internet.

อินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตนี้นะค่ะคือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นะค่ะ ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลายเครือข่ายทั่วโลกเข้าด้วยกันนะค่ะ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายขนาดใหญ่และขนาดย่อยเชื่อมติดต่อกันนะค่ะ ดังนั้นอินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลในทุกๆ ด้านที่สามารถเข้าไปค้นหาได้อย่างง่ายดาย
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตนี้มีจุดเริ่มต้นจากเครือข่ายของกระทรวงกลาโหมของ สหรัฐอเมริกาซึ่งในช่วงปี ค.ศ. 1960 ซึ่งอยู่ในช่วงที่โลกยังหวาดหลัวสงครามนิวเคลียกันมาก จึงได้มีการเริ่มโครงการที่จะสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งาน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและการทหาร โดยมีจุดประสงค์คือจะเป็นเครือข่ายที่ทำงานอยู่ได้แม้ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งเสียหายไปแล้ว จึงได้มีการตั้งหน่วยงานวิจัยทางทหารขึ้นมา ชื่อ อาร์ปา ซึ่งดังนี้จึงถูกเรียกว่า อาร์ปาเน็ต และต่อมาในปี ค.ศ. 1969 เครือข่ายนี้ก็ได้ถูกเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยอีก 4 แห่ง จากนั้นกระทรวงกลาโหมของสหรัฐก็ได้ยกเครือข่ายนี้ให้เป็นสาธารณสมบัติ จนถึงปี ค.ศ. 1971 เครือข่ายอาร์ปานี้นะครับก็เริ่มเข้าสู่วงการศึกษา โดยมีหน่วยงานและมหาวิทยาลัย 15 แห่ง และก็ได้มีการขยายตัวขึ้นเป็น 2 เท่า ของทุกๆ ปี จนถึงปี ค.ศ. 1984 เครือข่ายนี้นะครับก็ได้ใหญ่โตมากขึ้น จึงมีการวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมาเพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP ขึ้นมา และในปี ค.ศ. 1989 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเครือข่ายอาร์ปาเน็ตไปเป็น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และก็นำมาใช้ในทางธุรกิจและการพาณิชย์อีกด้วย
อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเตอร์เน็ตนี้นะครับเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกนี่นะครับเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกเลยที่รับส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นประเทศออสเตรเลีย ครับและต่อมาในปีพ.ศ. 2531 นะครับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง นี่ ก็ได้รับทุนสนับสนุนให้ทำการค้นคว้าการเชื่องโยง เครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์รวม 12 แห่งด้วยกัน โดยการมอบหมายของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี่ ก็เป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบและต่อมาอีกในปี พ.ศ. 2537 ก็ได้มีบริษัทเอกชนได้เปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือเรียกว่า ISP นั่นก็คือ บริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เนห็ต จำกัดและในปี พ.ศ. 2542 นี้นะครับ อินเตอร์นี้นะครับก็เจริญเติบโตมากขึ้น มีผู้ใช้ประมาณ 800,000 คน และในเวลานั้นนะก็ได้มีบริษัทใหญ่ๆ ทั้งไทย และต่างประเทศ เริ่มหันมาลงทุนในด้านอินเตอร์เน็ต เป็นจำนวนมากและในปี พ.ศ. 2543 ประเทศไทยก็มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เพิ่มมากขึ้นเป็น 1,000,000 คน และเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันนี้

บริการบนอินเตอร์เน็ต
บริการ เวิลด์ ไวด์ เว็บ หรือ WWW ( World Wide Web) นี่นะครับ ก็เป็นบริการข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ ในแบบมัลติมีเดียคือ มีทั้ง ข้อความ ภาพ และก็เสียงซึ่งสามารถแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบภาพยนตร์ได้ด้วยอีเมล์

อีเมล์ ( E-mail) หรือว่า Electronics Mail นี่ก็คือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ คือจะใช้ในการติดต่อสื่อสารถึงกันนะครับผ่านอินเตอร์เน็ต โดยการส่งไปยังผู้รับปลายทางที่ใช้บริการอีเมล์ เหมือนกัน

New GroupNew Group หรือว่า กระดานแลกเปลี่ยนข่าวสารนี่เอง นี่คือ จะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ของผู้ใช้บริการได้ทั่วโลกเลย

FTPFTP(File Transfer Protocol) นี่เป็นบริการรับส่งข้อมูลระยะไกลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ที่อยู่ห่างไกลกันผ่านระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งในการใช้งานนี่ก็จะมี 2 ลักษณะด้วยกันดังนี้

  1. Down Load คือการดึงข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายมาไว้ยังเครื่องของตนเอง
  2. Up Load คือ การนำโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องของตนเองไปไว้บนเครื่องแม่ข่ายครับการสนทนากับผู้อื่นบริการนี้จะเป็นการสนทนากับผู้อื่นที่ใช้บริการเดียวกันนี้สามารถ พูดคุยกันได้เหมือนกับการโทรศัพท์เลย โดยการใช้ไมโครโฟน กับลำโพง ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์การสื่อสารด้วยข้อความการสื่อสารด้วยข้อความหรือว่า IRC นี้นะครับจะเป็นการสื่อสารโต้ตอบกับด้วยข้อความซึ่งผู้ร่วมสนทนา จะเห็นข้อความของผู้สนทนาคนอื่นๆ ทั้งหมดได้ในเวลาเดียวกัน

การค้นหาข้อมูลการค้นหาข้อมูล ( Search Engine ) นี้ก็เป็นอีกบริการหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการค้นหาข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว

WAPWAP (Wireless Application Protocol) นี่ก็คือ เป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่นี่ สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตได้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเว็บไซต์

เว็บเพจ ( Web Page ) นี่ก็คือ หน้าของเอกสารในรูปแบบของ HTML แต่ล่ะหน้าที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ ( Web Site ) นี่ก็คือเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บเว็บเพจที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น เว็บไซต์ www.kingsolder.com เป็นต้นโฮมเพจ ( Home Page ) นี่ก็คือ หน้าแรกของเว็บไซต์ในแต่ละเว็บไซต์เว็บบราวเซอร์ ( Web Browser ) นี่ก็คือ โปรแกรมที่ใช้ในการดูเว็บ เพจตัวอย่างเช่น โปรแกรม Internet Explorer เป็นต้น

การสื่อสารอินเตอร์เน็ต
โปรโตคอล ( Protocol ) นี่ก็คือ ระเบียบการที่จะใช้ในการสื่อสารข้อมูลกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันซึ่ง คอมพิวเตอร์แต่ล่ะเครื่องนี้ก็จะมีความแตกต่างกัน อย่างเช่นคนละรุ่นกันเช่นนี้ ซึ่งจะทำให้สามารถส่งข้อมูลไปได้อย่างถูกต้องส่วนโปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการติดต่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้เราเรียกว่า TCP/IPส่วนในการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP นี้ก็จะทำงานร่วมกันสองโปรแกรมด้วยกันคือ
TCP จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบการับส่งข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งหากมีข้อมูลที่สูญหากก็จะแจ้งไปยังต้นทางให้ส่งข้อมูลนั้นมาใหม่
IP นี่ก็จะทำหน้าที่ในการเลือกเส้นทางที่ส่งข้อมูลนั้นไปและตรวจสอบที่อยู่ของผู้รับ
ระบบไอพีแอดเดรส ( IP Address ) นี่ก็คือ รหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตซึ่งจะมีอยู่สี่ชุดด้วยกัน ตั้งแต่ 0- 255 และถูกขั้นด้วย เครื่องหมายจุด (.) ซึ่งรหัสของแต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อนี้ก็ไม่ซ้ำกัน เช่น 127.0.0.1
โดเมนเนม ( Domain Name ) นี้ซึ่งรหัสของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนี้จะเป็นการจดจำที่ยากมากดังนั้นจึงได้มีการใช้ตัวอักษรแทนรหัสนั้นซึ่งจะทำให้จดจำได้ง่ายกว่าซึ่งแต่ล่ะโดเมนเนมนั้นก็จะไม่ซ้ำกันด้วย
ตำแหน่งที่อยู่ของเว็บไซต์ ( URL ) นี่ ซึ่งการที่เราจะเรียกใช้เว็บไซต์ใดๆ นี่เราจะต้องทราบถึงที่อยู่ของเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งเราเรียกว่า URL
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ในการเชื่อต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตนี้จะมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันดังต่อไปนี้
• การเชื่อมต่อโดยตรง ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้ก็เป็นการนำระบบของเรา เชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลักของอินเตอร์เน็ตเลย โดยผ่านอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า เกตเวย์ หรือเราเตอร์ ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูงซึ่งในการเชื่อมต่อรูปแบบนี้จะสามารถเชื่อมต่อกับ ระบบอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาเลย แต่ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อแบบนี้จะแพงมาก
• การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ หรือที่ เรียกว่า ไอเอสพี ( ISP ) นั้นเอง ซึ่งจะแบ่งเป็นสองประเภทดังนี้
การเชื่อมต่อแบบองค์กร ในการเชื่อมต่อแบบนี้ หากว่าผู้ใช้นั้นเป็นองค์กรที่มีการติดตั้งระบบเครือข่าย ภายในองค์กรอยู่แล้ว ก็สามารถนำ เครื่องแม่ข่าย ( Server ) มาเชื่อมต่อกับ ISP ได้เลยครับ ซึ่งจะทำให้เครื่องอื่นๆ ที่อยู่ในระบบนี้ สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ทุกเครื่องเลย ในการต่อแบบนี้จะต้องต่อผ่านทางสายโทรศัพท์หรือคู่สายเช่น ซึ่งต้องขอเช่นกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย
การเชื่อมต่อส่วนบุคคล ในการเชื่อมต่อแบบนี้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปสามารถที่จะ เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้ากับ ระบบอินเตอร์เน็ตได้ครับโดยการต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ และผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม ( Modem ) ซึ่งค่าใช้จ่ายก็ไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ dial-up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ก่อนเพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การปลูกสตอเบอรี่







ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ผลขนาดเล็กให้ผลผลิตในหนึ่งฤดู ผลสุกมีรสเปรี้ยวหวาน กลิ่นหอม สีแดง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fragaria ananassa
เป็นไม้พุ่มที่สูงจากผิวดิน 6-8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8-12 นิ้ว ระบบรากดีมาก แผ่กระจายประมาณ 12 นิ้ว ใบแยกเป็นใบย่อย 3 ใบ มีก้านใบยาว ขอบใบหยัก ลำต้นสั้นและหนา ดอกเป็นกลุ่ม มีกลีบรองดอกสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียกระจายอยู่เหนือฐานรองดอก ผลเจริญเติบจากฐานรองดอก มีผลขนาดเล็ดคล้ายเมล็ดจำนวนมากติดอยู่รอบเรียกว่า “เอคีน (Achene)”

พันธุ์สตรอเบอรี่
การปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือมีมานานพอสมควร แต่ สตรอเบอรี่ที่ปลูกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำ ผลเล็ก สีซีด และช้ำง่าย
ในปัจจุบันมีพันธุ์ที่เหมาะสมและปลูกได้ผลดี ผลผลิตสูงผลใหญ่ เรียว เนื้อแน่น สีแดงจัด รสชาติดี ใบย่อย ใบกลางเรียวหยักปลายใบใหญ่ ต้นใหญ่ ให้ผลผลิตยาวนาน พันธุ์ดังกล่าวเรียกกันว่าพันธุ์ “ไทโอก้า”

ความต้องการสภาพดินฟ้าอากาศ
ดินที่ปลูกสตรอเบอรี่ควรเป็นดินร่วนปนทราย ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระหว่าง 5-7 ซึ่งเป็นดินที่สภาพเป็นกรดเล็กน้อย
สตรอเบอรี่ต้องการช่วงแสงต่ำกว่า 11 ชั่วโมง และอุณหภูมิหนาว-เย็น ในการติดดอกออกผล ถ้าอุณหภูมิยิ่งต่ำยิ่งทำการติดดอกออกผลดีขึ้น

การปลูกเพื่อต้องการผล
ควรปลูกในเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม โดยต้นอ่อนหรือไหลที่จะปลูกควรมีแขนไหลที่มีข้อ
ติดด้วยการเตรียมแปลงปลูกทำนองเดียวกับแปลงปลูกผักคือ การปลูกต้องใช้ส่วนโคนของลำต้น
______________________________________________________________________________
* นักวิชาการเกษตร 4 ฝ่ายสำรวจและวางแผน กองอนุรักษ์ต้นน้ำ
กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อยู่ในระดับดิน ถ้าปลูกลึกยอดจะเน่า ถ้าตื้นรากจะแห้งทำให้เจริญเติบโตช้า ใช้ส่วนแขนไหลจิ้มลงในดินเพื่อช่วยดูดน้ำในระยะแรกปลูกในขณะที่ไหลกำลังตั้งตัว
ระยะปลูก 25 x 30 ซม. แปลงกว้าง 100 ซม. สูง 20 ซม. ยาวตามที่ต้องการ ทางกว้างประมาณ 40 ซม. ปลูก 3 แถว ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ไหลปลูกประมาณ 10,000-12,000 ต้น
การเตรียมแปลงปลูกอาจเตรียมแปลงปลูกแบบทำนาดำซึ่งสะดวกและประหยัดแรงงานและเวลาในการให้น้ำ โดยให้น้ำแบบท่วมแปลง แต่ใช้ได้เฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอ

การให้น้ำ
เนื่องจากสตรอเบอรี่เป็นพืชที่ไม่ทนต่อความแห้งแล้งเพราะฉะนั้นต้องระวังการให้น้ำเป็นพิเศษ การขาดแคลนน้ำนาน ๆ มีผลกระทบต่อผลผลิตของสตรอรี่บ่อยครั้งที่กสิกรไม่ให้ความสำคัญในข้อนี้ทำให้ผลผลิตที่ปรากฏภายหลังตกต่ำจนไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต
ก่อนที่จะให้น้ำแก่สตรอเบอรี่จะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าน้ำที่จะให้มีคุณสมบัติเป็นกรดหรือด่างถ้าเป็นด่างไม่ควรใช้เพราะต้นสตรอเบอรี่จะไม่เจริญเติบโตในสภาพที่ดินเป็นด่าง
วิธีการให้น้ำ อาจใช้บัวรด ซึ่งรดทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง ซึ่งวิธีนี้ประหยัดน้ำ แต่สิ้นเปลืองแรงงานจะใช้วิธีนี้เมื่อมีน้ำขังอยู่จำกัดแต่มีแรงงานเหลือเฟือหรือค่าแรงงานต่ำ
หรือจะให้น้ำแบบท่วมโดยปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลง โดยให้น้ำเข้าท่วมแปลงจนกระทั่งดินอิ่มตัวด้วยน้ำซึ่งประมาณ 5-10 ซม. แล้วแต่คุณสมบัติของดินและความชื้นอากาศ โดยใช้ระยะเวลา 7-10 วัน จึงทำการปล่อยน้ำ 1 ครั้ง วิธีนี้ประหยัดแรงงาน แต่ใช้ได้เฉพาะพื้นที่มีน้ำเพียงพอ

การให้ปุ๋ย
ในที่นี้จะกล่าวถึงการให้ปุ๋ยเพื่อต้องการผลสตรอเบอรี่เท่านั้น ส่วนการให้ปุ๋ยเพื่อผลิตไหลจะกล่าวในหัวข้อต่อไป
ในการให้ปุ๋ยเพื่อต้องการผลนั้น ก่อนปลูกให้ขุดหลุมลึกประมาณ 5-6 นิ้ว แล้วใส่ปุ๋ยคอก 30 กรัม และปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟส 1 ช้อนชารองก้นหลุมก่อนปลูก หลังจากนั้น 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร6-24-24 (ใช้ในกรณีที่ปลูกเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) หรือปุ๋ยสูตร 13-13-21 (ในกรณีที่ปลูก เดือนกันยายน- ตุลาคม) หรือปุ๋ยสูตร 16-16-16 (ในกรณีที่ปลูกเดือนพฤศจิกายน- มกราคม) โดยใส่ 2 กรัมต่อต้น โดยแบ่งให้ 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7-10 วัน






การใช้วัสดุคลุมดิน
การใช้วัสดุคลุมดินเพื่อ.-
1. ป้องกันการระเหยของน้ำจากพื้นดินเนื่องจากความร้อนจากแสงแดด ในช่วงที่ปลูก สตรอเบอรี่เพื่อต้องการผลจะอยู่ในระหว่างเดือนกันยายน - เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีความร้อนแสงแดดรุนแรง ความชื้นในอากาศต่ำ
2. ป้องกันแร่ธาตุอาหารในดินถูกทำลายเนื่องจากความร้อน
3. ป้องกันผลสตรอเบอรี่ซึ่งจะเสียหายเนื่องจากผลถูกกับพื้นดิน

วัสดุที่ใช้คลุมดินสำหรับสตรอเบอรี่ ได้แก่ฟางข้าว หรือใบตองตึง การคลุมอาจจะคลุมก่อนปลูก หรือหลังปลูก หรือในระยะเริ่มติดดอกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคงทนของวัสดุ แรงงาน ราคาวัสดุ และการทำลายของแมลงในดิน เช่น ปลวก เป็นต้น

การติดดอกออกผล
เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง และช่วงแสงสั้นเข้าซึ่งประมาณเดือนพฤศจิกายน สตรอเบอรี่จะเริ่มติดดอกและผลจะสุกหลังจากติดดอก 21-25 วัน ผลสตรอเบอรี่ระยะแรกจะมีสีเขียว และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม มีรสเปรี้ยวปนหวาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-3.5 ซม.
ผลจะสุกมากที่สุดเดือนมีนาคม และจะหมดประมาณเดือนเมษายน - พฤษภาคม

การเก็บเกี่ยว
เนื่องจากผลสตรอเบอรี่ช้ำง่าย การเก็บเกี่ยวต้องคำนึงถึงระยะทางในการขนส่งสู่ตลาดถ้าระยะทางไกลต้องเก็บผลสุกหรือเห็นสีแดง 50% ซึ่งจะได้ผลแข็งสะดวกแก่การขนส่ง ถ้าระยะทางใกล้ควรเก็บผลสุกหรือสีแดง 75%
เวลาที่เก็บ ควรเก็บตอนเช้า เมื่อเก็บแล้วไม่ควรให้ผลถูกแสงแดด ซึ่งจะทำให้ผลเน่าเร็วควรเก็บทุก 1-2 วัน

การบรรจุและขนส่ง
เนื่องจากผลสตรอเบอรี่บอบช้ำง่าย โดยเฉพาะถ้าเส้นทางคมนาคมไกลและไม่ดีเท่าที่ควร การบรรจุผลสตอเบอรี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ภาชะนะที่บรรจุจะต้องไม่มีส่วนที่แหลมคมซึ่งจะทำให้ผลเสียหาย การวางผลจะต้องวางไม่เกินสองชั้น ถ้าพบว่ามีผลเสียควรคัดออกทันทีเพื่อป้องกันผลข้างเคียงพลอยเน่าเสียหายไปด้วย
ในกรณีเส้นทางคมนาคมลำบากไม่สามารถขายผลสดจำเป็นต้องขายผลช้ำ ต้องตัดหัวขั้วและส่วนที่เน่า แล้วบรรจุในปี๊บที่ภายในรองด้วยถุงพลาสติก ถ้าระยะทางไกลจากตลาดมากหรือจำเป็นต้องเก็บผลสตรอเบอรี่ไว้ค้างคืนการใส่น้ำตาลเพื่อรักษาคุณภาพของผล โดยใช้น้ำตาล 4 กก. ต่อผลสตรอเบอรี่ 10 กก.

การปฏิบัติหลังจากสตรอเบอรี่ให้ผลแล้ว
เมื่อถึงเดือนเมษายนต้นสตรอเบอรี่เริ่มหยุดให้ผล เนื่องจากอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นช่วงแสงเริ่มยาวขึ้น ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มเจริญเติบโตด้านลำต้น กสิกรในพื้นราบมักจะขุดต้นสตรอเบอรี่ทิ้งด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้.-
1. การดูแลรักษาต้นสตรอเบอรี่ข้ามปี ในสภาพที่อุณหภูมิสูงทำได้ยาก และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง เนื่องจากต้นสตรอเบอรี่ไม่ทนต่อสภาพอากาศที่ร้อน และสภาพอากาศที่อุณหภูมิสูงโรคของสตรอเบอรี่ระบาดง่าย
2. เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินหลังจากปลูกสตรอเบอรี่หยุดให้ผล เช่น ปลูกผักหรือพืชไร่ซึ่งได้ผลตอบแทนสูงกว่า
3. การที่ทำลายต้นสตรอเบอรี่ เป็นการทำลายแหล่งเพาะเชื้อโรคของสตรอเบอรี่ได้ผลดี

การปลูกสตรอเบอรี่เพื่อผลิตไหล
ไหล คือส่วนที่เจริญเติบโตมาจากต้นแม่ตรงลำต้นหรือข้อ หรือส่วนของไหลต้นเก่าเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ โดยปล้องหรือแขนไหล
เนื่องจากเหตุผลในข้อที่แล้ว จึงมีกสิกรส่วนหนึ่งที่มีอาชีพปลูกสตรอเบอรี่ ผลิตไหลขายให้แก่กสิกรพื้นราบ กสิกรกลุ่มนี้มีที่ดินที่อยู่ในสภาพอุณหภูมิที่หนาวเย็น แม้แต่ในฤดูร้อน มีค่าแรงงานถูก เช่น กสิกรของชนกลุ่มน้อยชาวไทยภูเขาที่อาศัยในเขตที่สูงภาคเหนือ ซึ่งมียังชีพโดยการทำไร่เลื่อนลอยซึ่งตัดไม้ทำลายป่าโดยเฉพาะป่ารักษาต้นน้ำ
การส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขาปลูกสตรอเบอรี่เพื่อขายไหลจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะยับยั้งการปลูกฝิ่น
ข้อดีของไหลที่ผลิตในเขตที่สูงคือ เมื่อนำไปปลูกเพื่อต้องการขายผลได้ผลผลิตสูงกว่าไหลที่ปลูกเองในที่ราบ ต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า ทนทานต่อโรคได้ดีกว่าและมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง

การเตรียมพื้นที่และเตรียมต้นปลูก
การเตรียมพื้นที่เหมือนกับการปลูก เพื่อต้องการขายผลสำหรับต้นที่ให้ผลหมดแล้วก็จะเป็นต้นที่แตกกอออกมาประมาณ 5-7 ต้น ติดอยู่กับต้นเก่า ควรขุดต้นออกทั้งกอ แล้วใช้มีดหรือกรรไกรแต่งรากและปลิดใบที่แก่ออก (การปลิดออกใช้มือโยกก้านใบขนาดกับพื้นดิน) จากนั้นใช้มีดคมตัดแยกต้นออกแล้วนำไปปลูก ใช้ระยะปลูก ใช้ระยะปลูก 30 x 50 ซม.
การให้ปุ๋ย
เนื่องจากการปลูกเพื่อผลิตไหลเป็นความพยายามเพาะเลี้ยงให้ต้นสตรอเบอรี่เจริญเติบโตทางด้านลำต้น ฉะนั้นจะต้องคำนึงถึงปุ๋ยไนโตรเจนเป็นสำคัญ ที่โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 8 (บ่อแก้ว) ทดลองใช้ขี้ค้างคาวรองพื้นหลุมก่อนปลูกและใส่ปุ๋ยคอกระหว่างต้น จากนั้นรดปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 1 ปี๊บ รดทุก 7-10 วัน พบว่าสตรอเบอรี่ 1 ต้นจะให้ไหล 50-70 ไหล

การตัดไหลและการบรรจุ
ประมาณหลายฤดูฝนไหลสตรอเบอรี่ก็จะเจริญเติบโตเต็มที่พร้อมที่จะตัดขายสู่ตลาด
การตัดไหล ใช้มีดหรือกรรไกรตัดแขนไหลโดยให้ส่วนที่เป็นข้อติดไปด้วย จากนั้นก็ขุดไหลออกทั้งหมดแล้วล้างราก ใช้สำลีมอส หรือนุ่นจุ่มน้ำแล้วห่อรากเอาไว้ โดยนำไหลมารวมกันประมาณ 10 ต้น แล้วห่อด้วยใบตองหรือถุงพลาสติก แล้วบรรจุในถุงพลาสติกใหญ่อีกครั้งแล้วนำไหลส่งให้ผู้ซื้อภายใน 24 ชั่วโมง

โรคสตรอเบอรี่
1. โรคใบจุด (Leaf Spot) เกิดจากเชื้อรา Ramuoaria sp. (Impetfect stage) หรือ Mycosphacrella sp. (Perfect stage) อาการทั่วไปจะเห็น เป็นจุดโปร่งแสงสีน้ำตาล ขอบแผลสีม่วง ถ้ารุนแรงใบจะแห้งและตายในที่สุด โรคนี้พบมากในช่วงฤดูฝน เมื่อพบโรคนี้ควรเด็ดใบทิ้ง โดยใช้มือโยกก้านใบไปมาด้านข้างแล้วดึงออก การทำลายโดยการเผาทิ้ง ถ้ารุนแรงใช้ยาแคบแทน หรือเบนเลท พ่นทุก 7 วัน

2. โรค Leaf scorch เกิดจากเชื้อรา Massonia frabvariae อาการในระยะแรกพบจุดสีม่วงหรือสีน้ำตาลแดงบนใบและจุดจะกระจายเป็นแผลมีลักษณะไม่แน่นอน เนื้อเยื่อของใบถูกทำลายไม่แห้งเหมือนโรคอื่น เมื่อแผลกระจายติดกับใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงในที่สุด การป้องกันรักษาใช้ยาแคบแทนหรือเบนเลท พ่นทุก 7 วัน

3. โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา Fusarium sp. ซึ่งเข้าทำลายทางรากและแขน (Stolon) ของไหล เชื้อโรคชนิดนี้อาศัยอยู่ในดิน ต้นเหี่ยวใบลู่ลง โรคจะระบาดในขณะที่อากาศอบอ้าว ถ้าอากาศชื้นจะทำให้โรคหยุดระบาด แต่ถ้าเป็นมากต้นจะตาย เพราะระบบรากถูกทำลาย Crown มีวงสีน้ำตาลล้อมรอบ อุดท่อน้ำซึ่งส่งไปเลี้ยงใบและลำต้น การป้องกันรักษาต้องทำลายแหล่งเชื้อโรคในดินสำหรับไหลที่นำมาปลูกควรตัดข้อของแขนใบติดไปด้วย เพราะส่วนที่เป็นข้อสามารถป้องกันการเข้าทำลายของโรคได้ดี
จากการสังเกตที่โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 8 พบโรคสตรอเบอรี่บ้าง แต่โรคไม่ระบาดและไม่ทำให้ต้นสตรอเบอรี่ตาย จึงทำให้ไม่ต้องกังวลต่อการฉีดยาป้องกันโรคสตรอเบอรี่ซึ่งทำเกิดผลต้องค้างของสารเคมีภายหลัง
จากการศึกษาพบว่าโรคของสตรอเบอรี่จะไม่ระบาดในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 20 ซํ. – 25 ซํ.

แมลง
หนอนกัดกินราก เป็นหนอนของด้วงปีกแข็งตัวสีขาวปากกัดสีน้ำตาลอ่อนเจริญเติบโตจากไข่ที่อยู่ใต้ดิน และในปลายฤดูฝนก็จะเริ่มกัดกินราก ทำให้รากไม่สามารถดูดน้ำได้เมื่อใบคายน้ำ จึงทำให้ใบเหี่ยว เซลล์คุมรูใบจะสูญเสียความเต่งตึง รูใบจะปิด CO2 ไม้สามารถฟุ้งกระจายเข้าสู่ใบได้อย่างรวดเร็ว เมื่อพบอาการดังกล่าวควรขุดเอาหนอนมาทำลาย หรือก่อนปลูกควรโรยพื้นหลุมด้วยยาประเภทดูดซึม

จากการทดลองตัดไหลนำไปชำที่เรือนเพาะชำ โดยปล่อยให้พื้นดินว่างเปล่า จนกระทั่งสิ้นฤดูฝน หนอนก็จะเริ่มเข้าดักแด้ควรปลูกพืชที่อายุสั้นแซม เช่นพืชผัก ซึ่งกสิกรจะได้รายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

การปลูกพืชอื่นหมุนเวียน
เมื่อเก็บผลสตรอเบอรี่หมดในเดือนเมษายนเพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีประสิทธิภาพและป้องกันการสะสมของโรคสตรอเบอรี่ ควรปลูกพืชอื่นหมุนเวียน พืชที่ควรปลูกควรเป็นพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง หรือการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีประสิทธิภาพและป้องกันการสะสมของโรคสตรอเบอรี่ ควรปลูกพืชอื่นหมุนเวียน พืชที่ควรปลูกควรเป็นพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง หรือถั่วเขียว เพราะจะเป็นการเพิ่มธาตุไนโตรเจนแก่ดินด้วย
หรือจะปลูกผัก ซึ่งทำรายได้ให้แก่ชาวสวนสตรอเบอรี่โดยเฉพาะชาวสวนที่มีพื้นที่ใกล้ตลาด เพราะสามารถขนส่งได้สะดวก.

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วีธีการแต่งhi5


1. hi5 คืออะไร
hi5 คือ ที่ๆ เราสามารถพบปะผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกได้ เราสามารถค้นหาผู้คนที่อยู่หรือเคยอยู่ ภูมิลำเนา โรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัยเดียวกันกับเรา ไม่ว่าเค้าจะอยู่ส่วนไหนของโลกก็ตาม และ hi5 ยังสนับสนุนให้คุณเปิดกว้างได้พบปะเพื่อนใหม่ๆ ไม่ว่าเค้าจะเป็นใครก็ตาม
hi5 คือ ที่ๆ เราจะแบ่งปันสิ่งที่มีความสำคัญให้กันและกัน ทั้งรูปถ่าย คลิปวีดีโอคลิป เพลงจากศิลปินคนโปรด ตลอดจนการได้เข้าร่วมกลุ่มเพื่อนๆ ที่เราสนใจ
hi5 คือ ที่ๆ เราได้แสดงความตัวตนของเราอย่างเต็มภาคภูมิ ด้วยการสร้างและตกแต่งหน้าเว็บ hi5 ในแบบฉบับของตัวเอง ด้วย แอนิเมชั่นและลูกเล่นเด็ดๆ ที่ใช้งานง่ายมาก

2. ขั้นตอนและวิธีการสมัคร hi5
1.) เข้าไปที่เว็บไซต์
www.hi5.com
2.) คลิกที่ปุ่ม Sign Up เพื่อสมัครค่ะ
3.) จะพบว่ามีหน้าให้กรอกรายละเอียดอยู่ 3 หน้า ให้กรอกรายละเอียดให้ครบ ดังนี้
- หน้าแรกหัวข้อ Name & E-mail ให้กรอก ชื่อ-นามสกุล , อีเมล์ และ ตั้งรหัสผ่าน
- หน้าที่ 2 Personal Information หรือ ข้อมูลส่วนตัว เลือกข้อมูลส่วนตัว ดังนี้ เพศ , วันเกิด , ภาษาที่ใช้(English) , ประเทศที่เราอยู่ , เมืองที่เราอยู่
- หน้าที่ 3 Upload A Photo หรือ การเลือกรูปแทนตัวเราค่ะ คลิกปุ่ม Browse เพื่อเลือกรูปแทนตัวเรา ซึ่งไฟล์รูปต้องเป็นไฟล์ นามสกุล jpg , gif , .bmp หรือ png และขนาดไฟล์รูปภาพต้องไม่เกิน 10 MB เรียบร้อยแล้วคลิกที่ปุ่ม Upload ค่ะ
หมายเหตุ หากต้องการกลับไปแก้ไขข้อมูล สามารถคลิกที่ <> ที่อยู่ด้านล่างได้เลยค่ะ

3. วิธีค้นหาเพื่อน
เราสามารถค้นหาเพื่อนที่ถูกใจได้ด้วยวิธีง่ายๆ 2 วิธี คือ
วิธีแรก ที่ช่อง Search ด้านบนของ hi5.com เราสามารถใส่ คำหรือคีย์เวิร์ด(keyword) เพื่อค้นหา ชื่อเพื่อน (People) หรือ ชื่อคลิปวีดีโอ (Videos) ที่ต้องการ ซึ่งวิธีค้นหาจะคล้ายกันกับการค้นหาข้อมูลใน Google.com นั่นเองค่ะ เมื่อใส่เรียบร้อยแล้วก็ให้กดปุ่ม Enter ในคีย์บอร์ดหรือคลิกที่ปุ่ม Go
ก็จะแสดงรายชื่อเพื่อนๆ ที่ต้องการค้นหาดังรูปภาพด้านล่าง และหายังค้นหาไม่พบก็สามารถที่จะค้นหาอย่างละเอียดได้อีกด้วย
วิธีที่ 2 ค้นหาตามภูมิลำเนา(SEACH IN CITY) หน้าแรกของ hi5 จะมีช่องให้กรอก Country (ประเทศ) และ City (เมือง) ก็ให้เพื่อนๆ พิมพ์ชื่อประเทศ และเมืองที่เพื่อนต้องการค้นหา จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Find Friends
เจอคนที่อยากรู้จักแล้วก็อย่าลืมขอเค้าเป็นเพื่อนล่ะ
- คลิกที่รูปเพื่อนได้เลย เพื่อแวะเข้าไปเยี่ยมเยียน hi5 ของเพื่อน
- จากนั้นก็คลิก Add as a Friend เพื่อขอเพื่อนคนนั้นเป็นเพื่อนค่ะ

4. เริ่มต้น ตกแต่ง hi5
เสน่ห์ของ hi5 นอกจากจะเป็นที่รวมเพื่อนๆ ที่ถูกใจเราแล้ว ยังเป็นที่ๆเราสามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวของเราเองได้อีกด้วย ดังนั้นการตกแต่งประดับประดาหน้าเว็บ hi5 ของเราจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องใส่ใจและสวยงามในสไตล์ที่เราชอบ

4.1 สร้าง URL ให้ hi5 ของเราเสียก่อน
การไม่มี URL เปรียบเหมือนกับเราไม่มีที่อยู่เพื่อติดต่อเพื่อนๆจะติดต่อทีก็ลำบาก มาสร้าง URL ให้ hi5 ของเราด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

1.) Sign in เข้า hi5 ก่อนค่ะ โดยการกรอกอีเมลที่ใช้สมัคร และพาสเวิร์ด
2.) คลิกที่เมนู Profile จากนั้น ในช่อง Choose a personal hi5 URL! ให้ทำการตั้งชื่อตาม URL ที่ต้องการ (ส่วนใหญ่ชื่อมักจะซ้ำ ให้เพื่อนๆ อดทนหาชื่อดีๆ จำง่ายๆ กันหน่อยนะคะ) เรียบร้อยแล้วคลิกที่ปุ่ม Save

4.2 เลือก Skin สวยๆ กันเถอะ
Skin (สกิน) คือ หน้ากาก หรือรูปร่างหน้าตาของ hi5 ที่เพื่อนๆ สามารถเลือกมาตกแต่ง hi5 ของเราให้ดูสวยงามขึ้นได้
1.) Sign in เข้า hi5 ก่อนค่ะ จากนั้นคลิกที่เมนู Skin my Profile
2.) มี Skin มากมายให้เพื่อนเลือกไปแต่ง หากต้องการทดสอบดูก่อนก็ให้คลิกที่ปุ่ม Preview หรือถ้าต้องเลือกใช้เลยก็ให้คลิกปุ่ม Use Skin เรายังสามารถที่จะเลือกskinอื่นๆ ได้อีกมากมายโดยคลิกที่ปุ่ม Next ค่ะ
3.) ถ้าวันนึงเกิดเบื่อ Skin เดิมๆ เราก็สามารถเปลี่ยนใหม่ได้โดยคลิกที่ Change my Skin จากนั้นก็เข้าเลือก Skin ใหม่ๆ กันได้เลยค่ะ

4.3 ใส่ลูกเล่นสวยๆ ด้วย
Widget
Widget เป็นโปรแกรม เล็กๆ สวยๆ ที่เราสามารถนำมาใส่ใน hi5 เพื่อเพิ่มจุดเด่นและความน่าสนใจค่ะ และเนื่องจาก Widget มีอยู่บนอินเทอร์เน็ต มีให้เลือกเยอะแยะมากมาย ในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างการติดตั้งWidgetบางตัวที่เห็นว่าน่าใช้และได้รับความนิยมสูงค่ะ
1.) Log in เข้า hi5 ก่อนค่ะ จากนั้นคลิกที่เมนู Add A Widget

2.) เมื่อคลิกเข้ามาแล้ว จะพบกับ widget หลายตัว ทั้ง สไลด์รูปภาพ , คลิปวิดีโอ , เกม Glitter Text สามารถเลือกใส่ได้ตามใจชอบ ในที่นี้ขอแนะนำ การทำสไลด์รูปภาพ ด้วย Widget ยอดฮิต ที่ชื่อ Slide Shows ค่ะ

3.) จะเข้าสู่เว็บ Slide.com เริ่มต้นด้วยการคลิกเมนู My Files เพื่อเข้าไปเลือกรูปภาพทำการสร้างสไลด์

4.) ขั้นตอนถัดมา ให้คลิกที่ปุ่ม Browse และเมื่อเลือกรูปภาพจากในเครื่องของเรา

5.) ได้รูปมาครบแล้วเราก็ทำการอัพโหลดโดยคลิกที่ปุ่ม
Upload faster -- click here! ดังรูป
6.) ตอนนี้อัพโหลดเสร็จเรียบร้อยแล้ว

7.) คลิกที่ปุ่ม SAVE (get code)
8.) คลิกที่ปุ่ม ADD To hi5 ดังรูป

9.) จากนั้นจะพบหน้าต่าง Congratulation ให้คลิกที่ Return To hi5 เพื่อกลับมาที่ hi5 ของเรา
สไลด์โชว์ที่ได้จะไปอยู่เข้าไปอยู่ในกล่อง Widget เรียบร้อยแล้วค่ะ เท่านี้เพื่อนๆ ก็ได้สไลด์โชว์เก๋ๆ ไว้ประดับ hi5 ขอเราแล้วล่ะค่ะ

4.4 ใส่เพลงยอดฮิตใน hi5
เพื่อนๆ สามารถนำโค้ดเพลงจากเว็บไซต์ Imeem.com มาแปะใน hi5 ของเราได้ด้วยขั้นตอนดังนี้ค่ะ

4.4.1 สมัคร imeem.com กันก่อน
1.) เข้าเว็บ
www.imeem.com จากนั้นให้ทำการ สมัครสมาชิกโดยคลิกที่ปุ่ม Sign Up! ดังรูป

2.) กรอกรายละเอียดการสมัคร เรียบร้อยแล้วคลิก Sign Up ดังรูปค่ะ

3.) เข้าไปที่อีเมล์ที่เราใช้สมัคร จากนั้นเข้าไปเช็คอีเมล์ที่ Inbox เราจะพบว่ามีหัวข้ออีเมล์ที่ชื่อ imeem support ดังรูป
4.) เปิดอีเมล์ และคลิกลิงค์ดังรูปเพื่อ Confirm การสมัคร ก็เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนการสมัครสมาชิก imeem.com ค่ะ

4.4.2 วิธีนำโค้ดเพลงจาก imeem ไปแปะบน hi5 ของเรา

1.) ทำการ Log in เข้า imeem.com 2.) ทำการค้นหาเพลงที่ต้องการ โดยพิมพ์ชื่อเพลง เลือกประเภทเป็น Music จากนั้นคลิกที่ Search
3.) เมื่อพบเพลงที่ Search แล้ว ให้คลิกไปที่ชื่อเพลง จะพบหน้าต่างใหม่

4.) เมื่อพบหน้าต่างใหม่แล้ว สังเกตุคำว่า Embed ให้ copy โค๊ดนั้นไว้ และอย่าลืมเช็คเครื่องหมายถูกที่ Auto Play ด้วยนะคะ

5.) ให้กลับมาที่ hi5 ของเรา ไปที่กล่อง Life Style คลิกที่ Edit this section
6.) นำโค๊ดที่ก๊อปปี้มาได้ไปวางในช่อง About Me เมื่อวางโค๊ดแล้วให้คลิก Save Profile ดังรูป


เท่านี้เพื่อนๆ ก็จะมีเพลงเพราะๆ ใน hi5 ของตัวเองแล้วค่ะ