วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การปลูกสตอเบอรี่







ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ผลขนาดเล็กให้ผลผลิตในหนึ่งฤดู ผลสุกมีรสเปรี้ยวหวาน กลิ่นหอม สีแดง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fragaria ananassa
เป็นไม้พุ่มที่สูงจากผิวดิน 6-8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8-12 นิ้ว ระบบรากดีมาก แผ่กระจายประมาณ 12 นิ้ว ใบแยกเป็นใบย่อย 3 ใบ มีก้านใบยาว ขอบใบหยัก ลำต้นสั้นและหนา ดอกเป็นกลุ่ม มีกลีบรองดอกสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียกระจายอยู่เหนือฐานรองดอก ผลเจริญเติบจากฐานรองดอก มีผลขนาดเล็ดคล้ายเมล็ดจำนวนมากติดอยู่รอบเรียกว่า “เอคีน (Achene)”

พันธุ์สตรอเบอรี่
การปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือมีมานานพอสมควร แต่ สตรอเบอรี่ที่ปลูกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำ ผลเล็ก สีซีด และช้ำง่าย
ในปัจจุบันมีพันธุ์ที่เหมาะสมและปลูกได้ผลดี ผลผลิตสูงผลใหญ่ เรียว เนื้อแน่น สีแดงจัด รสชาติดี ใบย่อย ใบกลางเรียวหยักปลายใบใหญ่ ต้นใหญ่ ให้ผลผลิตยาวนาน พันธุ์ดังกล่าวเรียกกันว่าพันธุ์ “ไทโอก้า”

ความต้องการสภาพดินฟ้าอากาศ
ดินที่ปลูกสตรอเบอรี่ควรเป็นดินร่วนปนทราย ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระหว่าง 5-7 ซึ่งเป็นดินที่สภาพเป็นกรดเล็กน้อย
สตรอเบอรี่ต้องการช่วงแสงต่ำกว่า 11 ชั่วโมง และอุณหภูมิหนาว-เย็น ในการติดดอกออกผล ถ้าอุณหภูมิยิ่งต่ำยิ่งทำการติดดอกออกผลดีขึ้น

การปลูกเพื่อต้องการผล
ควรปลูกในเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม โดยต้นอ่อนหรือไหลที่จะปลูกควรมีแขนไหลที่มีข้อ
ติดด้วยการเตรียมแปลงปลูกทำนองเดียวกับแปลงปลูกผักคือ การปลูกต้องใช้ส่วนโคนของลำต้น
______________________________________________________________________________
* นักวิชาการเกษตร 4 ฝ่ายสำรวจและวางแผน กองอนุรักษ์ต้นน้ำ
กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อยู่ในระดับดิน ถ้าปลูกลึกยอดจะเน่า ถ้าตื้นรากจะแห้งทำให้เจริญเติบโตช้า ใช้ส่วนแขนไหลจิ้มลงในดินเพื่อช่วยดูดน้ำในระยะแรกปลูกในขณะที่ไหลกำลังตั้งตัว
ระยะปลูก 25 x 30 ซม. แปลงกว้าง 100 ซม. สูง 20 ซม. ยาวตามที่ต้องการ ทางกว้างประมาณ 40 ซม. ปลูก 3 แถว ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ไหลปลูกประมาณ 10,000-12,000 ต้น
การเตรียมแปลงปลูกอาจเตรียมแปลงปลูกแบบทำนาดำซึ่งสะดวกและประหยัดแรงงานและเวลาในการให้น้ำ โดยให้น้ำแบบท่วมแปลง แต่ใช้ได้เฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอ

การให้น้ำ
เนื่องจากสตรอเบอรี่เป็นพืชที่ไม่ทนต่อความแห้งแล้งเพราะฉะนั้นต้องระวังการให้น้ำเป็นพิเศษ การขาดแคลนน้ำนาน ๆ มีผลกระทบต่อผลผลิตของสตรอรี่บ่อยครั้งที่กสิกรไม่ให้ความสำคัญในข้อนี้ทำให้ผลผลิตที่ปรากฏภายหลังตกต่ำจนไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต
ก่อนที่จะให้น้ำแก่สตรอเบอรี่จะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าน้ำที่จะให้มีคุณสมบัติเป็นกรดหรือด่างถ้าเป็นด่างไม่ควรใช้เพราะต้นสตรอเบอรี่จะไม่เจริญเติบโตในสภาพที่ดินเป็นด่าง
วิธีการให้น้ำ อาจใช้บัวรด ซึ่งรดทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง ซึ่งวิธีนี้ประหยัดน้ำ แต่สิ้นเปลืองแรงงานจะใช้วิธีนี้เมื่อมีน้ำขังอยู่จำกัดแต่มีแรงงานเหลือเฟือหรือค่าแรงงานต่ำ
หรือจะให้น้ำแบบท่วมโดยปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลง โดยให้น้ำเข้าท่วมแปลงจนกระทั่งดินอิ่มตัวด้วยน้ำซึ่งประมาณ 5-10 ซม. แล้วแต่คุณสมบัติของดินและความชื้นอากาศ โดยใช้ระยะเวลา 7-10 วัน จึงทำการปล่อยน้ำ 1 ครั้ง วิธีนี้ประหยัดแรงงาน แต่ใช้ได้เฉพาะพื้นที่มีน้ำเพียงพอ

การให้ปุ๋ย
ในที่นี้จะกล่าวถึงการให้ปุ๋ยเพื่อต้องการผลสตรอเบอรี่เท่านั้น ส่วนการให้ปุ๋ยเพื่อผลิตไหลจะกล่าวในหัวข้อต่อไป
ในการให้ปุ๋ยเพื่อต้องการผลนั้น ก่อนปลูกให้ขุดหลุมลึกประมาณ 5-6 นิ้ว แล้วใส่ปุ๋ยคอก 30 กรัม และปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟส 1 ช้อนชารองก้นหลุมก่อนปลูก หลังจากนั้น 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร6-24-24 (ใช้ในกรณีที่ปลูกเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) หรือปุ๋ยสูตร 13-13-21 (ในกรณีที่ปลูก เดือนกันยายน- ตุลาคม) หรือปุ๋ยสูตร 16-16-16 (ในกรณีที่ปลูกเดือนพฤศจิกายน- มกราคม) โดยใส่ 2 กรัมต่อต้น โดยแบ่งให้ 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7-10 วัน






การใช้วัสดุคลุมดิน
การใช้วัสดุคลุมดินเพื่อ.-
1. ป้องกันการระเหยของน้ำจากพื้นดินเนื่องจากความร้อนจากแสงแดด ในช่วงที่ปลูก สตรอเบอรี่เพื่อต้องการผลจะอยู่ในระหว่างเดือนกันยายน - เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีความร้อนแสงแดดรุนแรง ความชื้นในอากาศต่ำ
2. ป้องกันแร่ธาตุอาหารในดินถูกทำลายเนื่องจากความร้อน
3. ป้องกันผลสตรอเบอรี่ซึ่งจะเสียหายเนื่องจากผลถูกกับพื้นดิน

วัสดุที่ใช้คลุมดินสำหรับสตรอเบอรี่ ได้แก่ฟางข้าว หรือใบตองตึง การคลุมอาจจะคลุมก่อนปลูก หรือหลังปลูก หรือในระยะเริ่มติดดอกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคงทนของวัสดุ แรงงาน ราคาวัสดุ และการทำลายของแมลงในดิน เช่น ปลวก เป็นต้น

การติดดอกออกผล
เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง และช่วงแสงสั้นเข้าซึ่งประมาณเดือนพฤศจิกายน สตรอเบอรี่จะเริ่มติดดอกและผลจะสุกหลังจากติดดอก 21-25 วัน ผลสตรอเบอรี่ระยะแรกจะมีสีเขียว และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม มีรสเปรี้ยวปนหวาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-3.5 ซม.
ผลจะสุกมากที่สุดเดือนมีนาคม และจะหมดประมาณเดือนเมษายน - พฤษภาคม

การเก็บเกี่ยว
เนื่องจากผลสตรอเบอรี่ช้ำง่าย การเก็บเกี่ยวต้องคำนึงถึงระยะทางในการขนส่งสู่ตลาดถ้าระยะทางไกลต้องเก็บผลสุกหรือเห็นสีแดง 50% ซึ่งจะได้ผลแข็งสะดวกแก่การขนส่ง ถ้าระยะทางใกล้ควรเก็บผลสุกหรือสีแดง 75%
เวลาที่เก็บ ควรเก็บตอนเช้า เมื่อเก็บแล้วไม่ควรให้ผลถูกแสงแดด ซึ่งจะทำให้ผลเน่าเร็วควรเก็บทุก 1-2 วัน

การบรรจุและขนส่ง
เนื่องจากผลสตรอเบอรี่บอบช้ำง่าย โดยเฉพาะถ้าเส้นทางคมนาคมไกลและไม่ดีเท่าที่ควร การบรรจุผลสตอเบอรี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ภาชะนะที่บรรจุจะต้องไม่มีส่วนที่แหลมคมซึ่งจะทำให้ผลเสียหาย การวางผลจะต้องวางไม่เกินสองชั้น ถ้าพบว่ามีผลเสียควรคัดออกทันทีเพื่อป้องกันผลข้างเคียงพลอยเน่าเสียหายไปด้วย
ในกรณีเส้นทางคมนาคมลำบากไม่สามารถขายผลสดจำเป็นต้องขายผลช้ำ ต้องตัดหัวขั้วและส่วนที่เน่า แล้วบรรจุในปี๊บที่ภายในรองด้วยถุงพลาสติก ถ้าระยะทางไกลจากตลาดมากหรือจำเป็นต้องเก็บผลสตรอเบอรี่ไว้ค้างคืนการใส่น้ำตาลเพื่อรักษาคุณภาพของผล โดยใช้น้ำตาล 4 กก. ต่อผลสตรอเบอรี่ 10 กก.

การปฏิบัติหลังจากสตรอเบอรี่ให้ผลแล้ว
เมื่อถึงเดือนเมษายนต้นสตรอเบอรี่เริ่มหยุดให้ผล เนื่องจากอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นช่วงแสงเริ่มยาวขึ้น ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มเจริญเติบโตด้านลำต้น กสิกรในพื้นราบมักจะขุดต้นสตรอเบอรี่ทิ้งด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้.-
1. การดูแลรักษาต้นสตรอเบอรี่ข้ามปี ในสภาพที่อุณหภูมิสูงทำได้ยาก และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง เนื่องจากต้นสตรอเบอรี่ไม่ทนต่อสภาพอากาศที่ร้อน และสภาพอากาศที่อุณหภูมิสูงโรคของสตรอเบอรี่ระบาดง่าย
2. เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินหลังจากปลูกสตรอเบอรี่หยุดให้ผล เช่น ปลูกผักหรือพืชไร่ซึ่งได้ผลตอบแทนสูงกว่า
3. การที่ทำลายต้นสตรอเบอรี่ เป็นการทำลายแหล่งเพาะเชื้อโรคของสตรอเบอรี่ได้ผลดี

การปลูกสตรอเบอรี่เพื่อผลิตไหล
ไหล คือส่วนที่เจริญเติบโตมาจากต้นแม่ตรงลำต้นหรือข้อ หรือส่วนของไหลต้นเก่าเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ โดยปล้องหรือแขนไหล
เนื่องจากเหตุผลในข้อที่แล้ว จึงมีกสิกรส่วนหนึ่งที่มีอาชีพปลูกสตรอเบอรี่ ผลิตไหลขายให้แก่กสิกรพื้นราบ กสิกรกลุ่มนี้มีที่ดินที่อยู่ในสภาพอุณหภูมิที่หนาวเย็น แม้แต่ในฤดูร้อน มีค่าแรงงานถูก เช่น กสิกรของชนกลุ่มน้อยชาวไทยภูเขาที่อาศัยในเขตที่สูงภาคเหนือ ซึ่งมียังชีพโดยการทำไร่เลื่อนลอยซึ่งตัดไม้ทำลายป่าโดยเฉพาะป่ารักษาต้นน้ำ
การส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขาปลูกสตรอเบอรี่เพื่อขายไหลจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะยับยั้งการปลูกฝิ่น
ข้อดีของไหลที่ผลิตในเขตที่สูงคือ เมื่อนำไปปลูกเพื่อต้องการขายผลได้ผลผลิตสูงกว่าไหลที่ปลูกเองในที่ราบ ต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า ทนทานต่อโรคได้ดีกว่าและมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง

การเตรียมพื้นที่และเตรียมต้นปลูก
การเตรียมพื้นที่เหมือนกับการปลูก เพื่อต้องการขายผลสำหรับต้นที่ให้ผลหมดแล้วก็จะเป็นต้นที่แตกกอออกมาประมาณ 5-7 ต้น ติดอยู่กับต้นเก่า ควรขุดต้นออกทั้งกอ แล้วใช้มีดหรือกรรไกรแต่งรากและปลิดใบที่แก่ออก (การปลิดออกใช้มือโยกก้านใบขนาดกับพื้นดิน) จากนั้นใช้มีดคมตัดแยกต้นออกแล้วนำไปปลูก ใช้ระยะปลูก ใช้ระยะปลูก 30 x 50 ซม.
การให้ปุ๋ย
เนื่องจากการปลูกเพื่อผลิตไหลเป็นความพยายามเพาะเลี้ยงให้ต้นสตรอเบอรี่เจริญเติบโตทางด้านลำต้น ฉะนั้นจะต้องคำนึงถึงปุ๋ยไนโตรเจนเป็นสำคัญ ที่โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 8 (บ่อแก้ว) ทดลองใช้ขี้ค้างคาวรองพื้นหลุมก่อนปลูกและใส่ปุ๋ยคอกระหว่างต้น จากนั้นรดปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 1 ปี๊บ รดทุก 7-10 วัน พบว่าสตรอเบอรี่ 1 ต้นจะให้ไหล 50-70 ไหล

การตัดไหลและการบรรจุ
ประมาณหลายฤดูฝนไหลสตรอเบอรี่ก็จะเจริญเติบโตเต็มที่พร้อมที่จะตัดขายสู่ตลาด
การตัดไหล ใช้มีดหรือกรรไกรตัดแขนไหลโดยให้ส่วนที่เป็นข้อติดไปด้วย จากนั้นก็ขุดไหลออกทั้งหมดแล้วล้างราก ใช้สำลีมอส หรือนุ่นจุ่มน้ำแล้วห่อรากเอาไว้ โดยนำไหลมารวมกันประมาณ 10 ต้น แล้วห่อด้วยใบตองหรือถุงพลาสติก แล้วบรรจุในถุงพลาสติกใหญ่อีกครั้งแล้วนำไหลส่งให้ผู้ซื้อภายใน 24 ชั่วโมง

โรคสตรอเบอรี่
1. โรคใบจุด (Leaf Spot) เกิดจากเชื้อรา Ramuoaria sp. (Impetfect stage) หรือ Mycosphacrella sp. (Perfect stage) อาการทั่วไปจะเห็น เป็นจุดโปร่งแสงสีน้ำตาล ขอบแผลสีม่วง ถ้ารุนแรงใบจะแห้งและตายในที่สุด โรคนี้พบมากในช่วงฤดูฝน เมื่อพบโรคนี้ควรเด็ดใบทิ้ง โดยใช้มือโยกก้านใบไปมาด้านข้างแล้วดึงออก การทำลายโดยการเผาทิ้ง ถ้ารุนแรงใช้ยาแคบแทน หรือเบนเลท พ่นทุก 7 วัน

2. โรค Leaf scorch เกิดจากเชื้อรา Massonia frabvariae อาการในระยะแรกพบจุดสีม่วงหรือสีน้ำตาลแดงบนใบและจุดจะกระจายเป็นแผลมีลักษณะไม่แน่นอน เนื้อเยื่อของใบถูกทำลายไม่แห้งเหมือนโรคอื่น เมื่อแผลกระจายติดกับใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงในที่สุด การป้องกันรักษาใช้ยาแคบแทนหรือเบนเลท พ่นทุก 7 วัน

3. โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา Fusarium sp. ซึ่งเข้าทำลายทางรากและแขน (Stolon) ของไหล เชื้อโรคชนิดนี้อาศัยอยู่ในดิน ต้นเหี่ยวใบลู่ลง โรคจะระบาดในขณะที่อากาศอบอ้าว ถ้าอากาศชื้นจะทำให้โรคหยุดระบาด แต่ถ้าเป็นมากต้นจะตาย เพราะระบบรากถูกทำลาย Crown มีวงสีน้ำตาลล้อมรอบ อุดท่อน้ำซึ่งส่งไปเลี้ยงใบและลำต้น การป้องกันรักษาต้องทำลายแหล่งเชื้อโรคในดินสำหรับไหลที่นำมาปลูกควรตัดข้อของแขนใบติดไปด้วย เพราะส่วนที่เป็นข้อสามารถป้องกันการเข้าทำลายของโรคได้ดี
จากการสังเกตที่โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 8 พบโรคสตรอเบอรี่บ้าง แต่โรคไม่ระบาดและไม่ทำให้ต้นสตรอเบอรี่ตาย จึงทำให้ไม่ต้องกังวลต่อการฉีดยาป้องกันโรคสตรอเบอรี่ซึ่งทำเกิดผลต้องค้างของสารเคมีภายหลัง
จากการศึกษาพบว่าโรคของสตรอเบอรี่จะไม่ระบาดในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 20 ซํ. – 25 ซํ.

แมลง
หนอนกัดกินราก เป็นหนอนของด้วงปีกแข็งตัวสีขาวปากกัดสีน้ำตาลอ่อนเจริญเติบโตจากไข่ที่อยู่ใต้ดิน และในปลายฤดูฝนก็จะเริ่มกัดกินราก ทำให้รากไม่สามารถดูดน้ำได้เมื่อใบคายน้ำ จึงทำให้ใบเหี่ยว เซลล์คุมรูใบจะสูญเสียความเต่งตึง รูใบจะปิด CO2 ไม้สามารถฟุ้งกระจายเข้าสู่ใบได้อย่างรวดเร็ว เมื่อพบอาการดังกล่าวควรขุดเอาหนอนมาทำลาย หรือก่อนปลูกควรโรยพื้นหลุมด้วยยาประเภทดูดซึม

จากการทดลองตัดไหลนำไปชำที่เรือนเพาะชำ โดยปล่อยให้พื้นดินว่างเปล่า จนกระทั่งสิ้นฤดูฝน หนอนก็จะเริ่มเข้าดักแด้ควรปลูกพืชที่อายุสั้นแซม เช่นพืชผัก ซึ่งกสิกรจะได้รายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

การปลูกพืชอื่นหมุนเวียน
เมื่อเก็บผลสตรอเบอรี่หมดในเดือนเมษายนเพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีประสิทธิภาพและป้องกันการสะสมของโรคสตรอเบอรี่ ควรปลูกพืชอื่นหมุนเวียน พืชที่ควรปลูกควรเป็นพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง หรือการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีประสิทธิภาพและป้องกันการสะสมของโรคสตรอเบอรี่ ควรปลูกพืชอื่นหมุนเวียน พืชที่ควรปลูกควรเป็นพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง หรือถั่วเขียว เพราะจะเป็นการเพิ่มธาตุไนโตรเจนแก่ดินด้วย
หรือจะปลูกผัก ซึ่งทำรายได้ให้แก่ชาวสวนสตรอเบอรี่โดยเฉพาะชาวสวนที่มีพื้นที่ใกล้ตลาด เพราะสามารถขนส่งได้สะดวก.

1 ความคิดเห็น:

۞ ต้อย™۞ กล่าวว่า...

น่ากินเนาะ

แสดงความคิดเห็น